สระประสม

สระประสม  

สระประสม  เป็นการออกเสียงที่ใช้ลิ้นส่วนหน้า  ลิ้นส่วนกลาง  และลิ้นส่วนหลังทำหน้าที่ออกเสียงร่วมกัน  เสียงที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะเป็นเสียงประสม  (คือ มีเสียงสระแท้  ๒  เสียง)   มีทั้งหมดจำนวน ๖ เสียง ดังนี้

เสียง   เอีย     เกิดจากเสียง             อี+ อา           >>>   เอีย

เสียง   เอือ     เกิดจากเสียง             อือ+ อา         >>>   เอือ

เสียง   อัว      เกิดจากเสียง             อู+ อา           >>>   อัว

(ปัจจุบันสระประสม  ๓  เสียงข้างบนนี้  นักภาษาศาสตร์ไทยระบุให้เป็นหนึ่งเสียงสระไทยจากที่มีอยู่ทั้งหมด  ๒๑  เสียง)

เสียง  เอียะ     เกิดจากเสียง   อิ+อะ  >>>   เอียะ
เสียง  เอือะ     เกิดจากเสียง   อึ+อะ  >>>   เอือะ
เสียง  อัวะ      เกิดจากเสียง   อุ+อะ  >>>   อัวะ
(ปัจจุบันสระประสม  ๓  เสียงข้างบนนี้  นักภาษาศาสตร์ไทยไม่ได้ระบุให้เป็นเสียงสระไทยจากที่มีอยู่ทั้งหมด  ๒๑  เสียง แล้ว  เนื่องจากไม่มีคำที่จะใช้หรือสามารถใช้สระประสมเสียงยาวแทนได้  เช่น  คำว่า  เลือก  สามารถออกเสียงคำได้ทั้งเสียงสั้นหรือเสียงยาวก็ได้  โดยความหมายไม่เปลี่ยน)

ตัวอย่างคำที่เกิดจากสระประสม   

เสียง  เอีย       เช่นคำว่า  เสีย  เรียบ  เปลี้ย  เยี่ยม  เรียก  เสียด  เสียง  โรเนียวฯลฯ
เสียง  เอือ      เช่นคำว่า  เนื้อ   เยือก   เลือด   เชื่อม  เพื่อน  เขมือบ  เรื่อง ฯลฯ
เสียง  อัว        เช่นคำว่า  ตัว   ยั่ว   หัว   ปวด   รวด   ปวง   ห่วง   ปลวก  ฯลฯ

โดย ครูปิยะฤกษ์  บุญโกศล  โรงเรียนโพนทันเจริญวิทย์

เผยแพร่เมื่อวันที่  ๒๓  กันยายน  ๒๕๕๔

25 Responses

  1. ขอบคุณค่ะ

  2. เป็นประโยชน์และได้ความรู้มากมาย ขอบคุณ

  3. ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ

  4. อ่านแล้วเข้าใจ

  5. 5555555555555555555555++++++++++++++++

  6. บ่องตรงงงงงงงงขอโทษคะนะะะะะะะหนูเข้าาาาาาาาาาใจแล้วคะะะะะะะะะะะ55555555

  7. เป็นที่น่าชื่นชมเน้อ

  8. ได้ควมรู้และกลับดีกั่ว5555555555555555++++++++

  9. มีประโยชน์มากเลยค่ะ ขอบคุณนะคะ

  10. ทำเป็นการบ้านได้ดีมากๆๆๆๆๆๆ

  11. ดีมากเลยค่ะ

  12. อยากได้ความรู้ครับ เรื่องสระประสมในภาษาไทย ที่นักภาษาศาสตร์เอาออก แต่เวลาเรียนภาษาไทย ทำไมต้องเอาออก เพราะยังมีบางคำจำเป็นต้องใช้
    เช่นคำว่า ผัวะ…ถ้าใช้เสียงยาวแทน ก็จะกลายเป็น ผัว.. ถ้าประโยค ผัวเตะเมียดัง ผัวะ ก็จะกลายเป็น ผัวเตะเมียดัง ผัว… นะสิครับ… คิดมากไปไหมที่ตัดออก…ทีพยัญชนะไม่ใช้ ตั้ง 2 ตัว ภาษาไทยก็ยังเรียน 44 ตัวเหมือนเดิม… มันอะไรกันครับ…ภาษาศาสตร์ ก็ส่วนภาษาศาสตร์สิครับ…ภาษาไทย ก็ต้องเป็นภาษาไทย แยกกันไม่ได้หรือไงครับ…

    • ครับ เป็นความคิดที่ดีมากครับ คนส่วนใหญ่ก็ยังคำนึงถึงสระ ๒๑ รูป ๒๔ เสียง อยู่เป็นปกติครับ ขอให้ใช้อย่างถูกต้องก็พอครับ
      ส่วนเรื่องภาษาศาสตร์ ก็คือศาสตร์แห่งคำพูดหรืออักษรแทนเสียง นักภาษาศาสตร์กำหนดเช่นนี้ เราก็ต้องยึดหลักแห่งภาษาไทยเช่นนี้ครับ
      นอกเสียจากว่าจะเปลี่ยนหลักภาษาศาสตร์ใหม่ ครับ
      เช่นเดียวกันกับกรณี ภาษาไทยที่เป็นภาษาถิ่นอีสาน มีเสียงที่พิเศษออกไปอีก เช่นคำว่า หย่าง (ซึ่งหมายถึง เดิน ก้าว) เสียงนี้จะขึ้นจมูก คนไทยภาคกลางส่วนใหญ่ออกเสียงนี้ไม่ได้แน่นอนครับ
      ถ้าไม่ใช่คนเฉพาะถิ่น ดังนั้น นักภาษาศาสตร์ก็ไม่ได้กำหนดอักษรไทยตัวนี้ให้เราใช้เหมือนกัน
      ข้อควรคิด ภาษาก็เหมือนสิ่งมีชีวิตครับ มีเกิด มีเปลี่ยนแปลง มีดับ (สูญหายไป) ครับ
      คนแต่ละคน องค์กรแต่ละองค์กร มีหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป
      ดังนั้น ทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุดครับ เรื่องที่ว่าเราจะใช้สระ ๒๔ เสียง เช่นเดิม ก็ยังสามารถใช้ได้ครับ ซึ่งถือว่าไม่ผิด เพราะคำไทยของเราในพจนานุกรมฯ ก็ยังมีคำว่า ผัวะ จั๊วะ เกี๊ยะ เป็นต้น ครับ ซึ่งเป็นสระประสม แต่รูปสระนี้แน่นอนว่า มี ๒๑ รูป ครับ

  13. ดีมาก

  14. ขอบคุณครับ

  15. ดีคับบบบบบบบบ

  16. มีเเค่นี้หร่อค่ะ😊😊

  17. ก็ดีนะค่ะ

ส่งความเห็นที่ krupiyarerk ยกเลิกการตอบ