ความหมายและชนิดของฉันท์

ความหมายและชนิดของฉันท์

 

          ช่วงนี้นักเรียนกำลังเรียนเรื่อง “สามัคคีเภทคำฉันท์”  อันเป็นการสรุปบทเรียนอีกทางหนึ่งเพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องฉันท์  บล็อกการศึกษาเรียนภาษาไทยน่ารู้กับครูปิยะฤกษ์จึงนำความรู้ที่ครูเรียบเรียงขึ้นมานี้นำเสนอให้นักเรียนได้อ่านทำความเข้าใจอีกครั้งหนึ่ง ครับ

 

ความหมายของฉันท์

          ฉันท์ คือ ลักษณะคำประพันธ์ (บทร้อยกรอง) ประเภทหนึ่ง  โดยนักประพันธ์ได้บรรจงร้อยกรองขึ้นเพื่อให้เกิดความไพเราะ  เกิดจินตภาพ  ซาบซึ้งในคำประพันธ์   โดยกำหนดฉันทลักษณ์ด้วยเสียงครุ-ลหุ และสัมผัสไว้เป็นแบบแผนโดยเฉพาะ ๆ  ต่างกันไปตามชื่อของฉันท์
ฉันท์มีชื่อต่าง ๆ  จำนวนมาก  ตามที่ปรากฏในคัมภีร์วุตโตทัยมีจำนวน ๑๐๘ ฉันท์ แต่ไทยเราดัดแปลงเอามาใช้  และก็ไม่ได้นำมาใช้ทั้งหมด จะเลือกเอาฉันท์ที่เห็นว่าไพเราะ  มีทำนองอ่านสละสลวย  ในคำฉันท์เก่า ๆ  ที่นิยมแต่งกัน ได้แก่

                    – อินทรวิเชียรฉันท์

                    – สัททุลวิกกีฬิตฉันท์

                    – สัทธราฉันท์

                    – วสันตดิลกฉันท์

                    – มาลินีฉันท์

                    – โตฎกฉันท์

          การแต่งฉันท์  ต้องบรรจุพยางค์หรือคำให้ครบ  ตามจำนวนพยางค์หรือคำที่ระบุไว้ จะบรรจุคำให้เกินกว่ากำหนด  เหมือนการแต่ง โคลง กลอน และกาพย์ไม่ได้   ปัจจุบันคำใดที่กำหนดไว้ว่าเป็นครุและลหุจะต้องเป็นครุและลหุจริง ๆ จะใช้ครุและลหุผิดที่ไม่ได้ คำ  เดิมนั้น  คำว่า  บ ก็  คำที่ประสมด้วย สระอำ ในแม่ ก กา ก็ดี  ใช้เป็นลหุได้ แต่ปัจจุบันคำที่ประสมด้วยสระอำไม่นิยมใช้กันแล้ว เพราะถือว่าเป็นคำที่มีเสียงตัวสะกด /ม/  อยู่ด้วย

ชื่อฉันท์ต่าง ๆ  ในวรรณกรรมของไทยที่นักเรียนควรรู้จักชื่อไว้และศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจ  มีดังนี้

 

ชนิดของฉันท์

ฉันท์ ๘

๑.  จิตรปทาฉันท์ ๘

๒.  ปมาณิกฉันท์ ๘

๓.  มาณวกฉันท์ ๘

๔.  วิชชุมาลาฉันท์ ๘

 

ฉันท์ ๑๑

๕.  สาลินีฉันท์ ๑๑

๖.  อาขยานิกาฉันท์ ๑๑

๗.  อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑

๘.  อุปัฏฐิตาฉันท์ ๑๑

๙.  อุปชาติฉันท์ ๑๑

๑๐.  อุเปนทรวิเชียรฉันท์ ๑๑

 

ฉันท์ ๑๒

๑๑. กมลฉันท์ ๑๒

๑๒. โตฎกฉันท์ ๑๒

๑๓. ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒

๑๔. วังสัฏฐฉันท์ ๑๒

๑๕. อินทวงสฉันท์ ๑๒

 

ฉันท์ ๑๔

๑๖. วสันตดิลกฉันท์ ๑๔

 

ฉันท์ ๑๕

๑๗. ประภัททกฉันท์ ๑๕

๑๘. มาลินีฉันท์ ๑๕

 

ฉันท์ ๑๖

๑๙. วาณินีฉันท์ ๑๖

 

ฉันท์ ๑๘

๒๐. กุสุมิตลดาเวลลิตาฉันท์ ๑๘

 

ฉันท์ ๑๙

๒๑. เมฆวิปผุชชิตาฉันท์ ๑๙

๒๒. สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙

 

ฉันท์ ๒๐

๒๓. อีทิสฉันท์ ๒๐

 

ฉันท์ ๒๑

๒๔. สัทธราฉันท์ ๒๑

 

ฯลฯ

 

โดย  ครูปิยะฤกษ์  บุญโกศล

โรงเรียนเขื่องในพิทยาคาร