กฎหมายเกี่ยวกับ E-Commerce

        วันนีเรียนภาษาไทยในคอมกับครูปิยะฤกษ์   นำความรู้เกี่ยวกับบทความเรื่อง  “กฎหมายเกี่ยวกับ  E-Commerce”  มาฝากนะครับ  ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ไกลหรือใกล้ตัวเราจนเกินไป  แต่เราก็ต้องศึกษาหาความรู้เอาไว้  เผื่อว่าวันหน้าเราอาจเป็นผู้ผลิตหรือเผยแพร่เทคโนโลยีทางการสื่อสาร  เราไปอ่านกันเลย  “รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม” ครับ

กฎหมายเกี่ยวกับ  E-Commerce

          ปัจจุบันนี้คงต้องยอมรับว่าธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) เข้ามามีบทบาทต่อการประกอบธุรกิจของ เราๆ ท่านๆ เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจแบบ B to B (Business to Business) B to C (Business to Consumer) C to C (Consumer to Consumer ) โดยเฉพาะ ธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการขนาดกลาง (SME) ซึ่งจะสังเกตเห็นได้ว่าจำนวนเว็บไซต์ที่ทำการค้าขายบนอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันทั่วโลกนี้มีมากกว่า ๑ ล้าน เว็บไซต์ปัญหาที่ค้างคาใจเว็บมาสเตอร์ผู้ประกอบการทั่วไปหรือผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตและกำลังคิดจะทำธุรกิจ E-Commerce อย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมาย
              ชื่อเว็บไซต์ หรือชื่อโดเมนเนม (Domain Name) เมื่อท่านผู้ประกอบการทั่วไปจะประกอบ กิจการ E-commerce ไม่ว่าจะเป็น B to B หรือ B to C หรือ C to C สิ่งที่ขาดไม่ได้คือตัวตนของร้าน หรือ สถานประกอบการของท่าน บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ใช้จำหน่ายสินค้า หรือให้บริการ ซึ่งหากจะให้คน จำร้านเราได้แน่นอน ต้องมีชื่อเสียงเรียกขาน เป็นที่น่าสนใจให้กับเว็บไซต์นั้น เพื่อให้คนทั่วไปหรือนัก ท่องอินเทอร์เน็ตรู้จัก ซึ่งในทางเทคนิค  เราเรียกชื่อของเว็บไซต์เหล่านี้ว่า “ชื่อโดเมน” (Domain Nam)
            จริง ๆ แล้วชื่อโดเมนเนมนั้น ก็คือระบบการแปลที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตจากข้อมูลทางเทคนิคในระบบ ดิจิทัล (001100) มาแปลงเป็นระบบภาษาคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่าระบบ DNS System ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ แปลงตัวเลขดิจิทอลมาเป็นตัวอักษรโรมัน ซึ่งเป็นภาษามนุษย์ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตเพื่อง่ายแก่การจดจำแค่ นั้นเอง
           มาถึงจุดนี้ทุกท่านคงเริ่มรู้จักชื่อโดเมนเนม หรือชื่อเว็บไซต์กันแล้วซึ่งปัญหาในกฎหมายที่เกิดขึ้นก็คือ ว่าโดยส่วนใหญ่ เมื่อคนทั่วไปนิยมจดจำชื่อโดเมนเป็นตัวอักษรแล้ว ก็มีบุคคลบางกลุ่มที่คิดหากำไรทางลัด โดยนำเอาชื่อทางการค้า หรือ เครื่องหมาย การค้าที่มีชื่อเสียงมาจดเป็นชื่อโดเมนโดยเจ้าของไม่ได้อนุญาต หรืออาจจะจดไว้เพื่อขายให้เจ้าของชื่อทางการค้า หรือเครื่องหมายการค้าที่แท้จริง
                   ตัวอย่างเช่น  กรณีเมื่อ ๔-๕ ปีที่แล้ว มีชาวแคนาดาคนหนึ่งจดชื่อโดเมนคำว่า “amazingthailand.com”  และนำมาเสนอ ขายแก่รัฐบาลไทยเป็น จำนวนเงินหลายสิบล้านบาท หรือกรณีที่มีชาวต่างประเทศรายหนึ่ง นำเอาชื่อดาราหนังฮอลลีวู้ดไปจดทะเบียนเป็นชื่อโดเมนคำว่า “juliarobert.com”  หรือ “madonna.com” พวกที่นิยมนำชื่อเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นไป จดโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ภาษาของชาว Netizen เราเรียกว่า “พวกCybersquatter
              ปัญหาในทางกฎหมายคือ การกระทำดังกล่าวของพวก Cybersquatter นั้นถือว่าผิดกฎหมายหรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับเรื่องดังกล่าวคือ  พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.๒๕๓๔ ซึ่งมีรายละเอียดดัง นี้

             มาตรา ๑๐๘   บุคคลใดปลอมเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมาย ร่วมของบุคคล อื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วใน ราชอาณาจักรต้องระวางโทษไม่เกินสี่ปีหรือปรับไม่เกินสี่แสน บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
               มาตรา ๑๐๙  บุคคลใดเลียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมาย ร่วมของบุคคล อื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการ ค้า เครื่องหมายบริการเครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วมของบุคคลอื่นนั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่ เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              จากหลักการดังกล่าวสรุปง่ายๆ ก็คือหากชื่อทางการค้าเครื่องหมายการค้านั้น จดทะเบียนไว้กับกรม ทรัพย์สินทางปัญญา และท่านนำเอาไปใช้เป็น ชื่อโดเมน ก็อาจมีความผิดตามกฎหมายฉบับดังกล่าวได้ แต่หากชื่อทางการค้าเครื่องหมายการค้า ดังกล่าวแม้ไม่ได้จดทะเบียนการค้าไวกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา ก็ตาม การกระทำดังกล่าวหากทำให้คนทั่วไปสับสนหลงผิดว่าเว็บไซต์ของท่านเกี่ยวข้อง หรือเป็นสินค้า หรือ บริการของเจ้าของเครื่องหมายการ ค้าที่แท้จริง การกระทำดังกล่าวก็อาจผิด กฎหมายฐานลวงขาย (Passing off) ตามประมวลกฎหมายอาญาได้ ซึ่งระบุไว้ว่า
           มาตรา ๒๗๒  ผู้ใดเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ หรือข้อความใดๆ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ หรือทำ ให้ปรากฏที่สินค้า หีบ ห่อ   วัตถุที่ใช้หุ้มห่อ แจ้งความรายการแสดงราคา จดหมายเกี่ยวกับการค้า หรือสิ่งอื่น ทำนองเดียวกัน เพื่อให้ ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้า หรือการค้าของผู้อื่น ส่วนของการปรับใช้กฎหมาย และการดำเนินคดีกับ Cybersquatter นั้น ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเป็นกรณีๆ ไป เพราะหากข้อเท็จจริงแตก ต่างกันผลในทางกฎหมายก็ย่อมแตกต่างกันด้วย
           ตัวอย่างเช่น  หากการใช้ชื่อในทางการค้า เครื่องหมายการค้านั้น ใช้เป็น domain name ก็จริง แต่ไม่ ใช่ประโยชน์ในทางการค้าแม้แต่น้อย domain name นั้น ก็อาจเป็นเพียงที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต (Address) ที่ใช้ติดต่อเท่านั้น ซึ่งก็อาจมีข้อ โต้แย้งในทางกฎหมายได้
            ดังนั้นทุกท่านที่อยากจะทำธุรกิจบนเว็บไซต์นั้นสิ่งที่ต้องระวังเป็นอันดับแรกก็คือ ชื่อทางการค้าเครื่อง หมายการค้าของผู้อื่นนั้นอย่านำมาใช้เป็นชื่อเว็บไซต์เด็ดขาด
      ข้อมูลที่ใช้ (Content) อาจจะกล่าวได้ว่าเว็บไซต์ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตทั้งหมดต้องมีการระบุ  รายละเอียดไว้บนเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ใช้บริการ  บน อินเทอร์เน็ตโดยทั่วไปเข้ามาใช้บริการ หรือเพื่อรับ ทราบข้อมูลสินค้า และบริการของ บริษัท ซึ่งจะขอแบ่งแยกเว็บไซต์ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตที่ให้บริการเกี่ยว กับธุรกิจ E-Commerce เป็นสองประเภท คือ 
            เว็บไซต์ประเภทขายสินค้า และให้บริการ 
            เว็บไซต์ประเภทให้บริการข้อมูล
      จากการวิเคราะห์ของนักเศรษฐศาสตร์ในวารสาร Far Eastern Economic Review พบว่าธุรกิจ เว็บไซต์ประเภทที่น่าจะ ให้กำไรตอบแทนสูงสุด คือเว็บไซต์ต่างประเทศที่ให้บริการค้นข้อมูล (Search Engine) ที่เรารู้จักกันดี ได้แก่ เว็บไซต์ yahoo.com เว็บไซต์ google.com หรือเว็บไซต์ altavisa.com  แต่หากพูดถึงเว็บไซต์ยอดนิยมของคนไทยที่ใช้ค้นข้อมูลก็คง หนีไม่พ้นเว็บไซต์ sanook.com เว็บไซต์ catcha.co.th ฯลฯ เว็บไซต์ที่ใช้ รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มารวมกันนี้  ภาษา ชาว Netizen เรียกว่า “Portal Website” หรือ “เว็บไซต์ท่า”
       ดังนั้นสิ่งที่เว็บมาสเตอร์ หรือเจ้าของเว็บไซต์มักจะมีปัญหาบ่อยที่สุด ก็คือข้อมูลประเภทใดบ้าง สามารถนำมาใช้ใน เว็บไซต์ได้หลักง่ายๆ ก็คือข้อมูลใดก็ตามหากเป็นข้อมูลที่ไม่มีลิขสิทธิ์ ท่านสามารถนำ มาใช้กับเว็บไซต์ของท่านได้
        ตัวอย่างของข้อมูลซึ่งไม่มีลิขสิทธิ์ที่กฎหมายพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗ ระบุไว้คือ ข่าวประจำวัน ข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานวรรณกรรมคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ  รัฐธรรมนูญ  กฎหมายข้อดังกล่าวนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ จึงสามารถนำมาใช้บนเว็บไซต์ได้ แต่ข้อควรระวังคือหาก เป็นบทบรรณาธิการ  หรือข้อวิเคราะห์วิจารณ์ของผู้เขียน คอลัมน์ของหนังสือ หรือสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ข้อมูลเหล่า นี้อาจมีลิขสิทธิ์จึงไม่ควรนำมาใช้บน เว็บไซต์ แต่หากนำมาใช้บนเว็บไซต์ แต่หากจำเป็นควรขออนุญาต จากเจ้าของลิขสิทธิ์ให้ถูกต้องพร้อมอ้างอิงถึงแหล่งที่มาของข้อมูลด้วย 
    การติดต่อเชื่อมโยง (Hyper link) การทำ Link สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งในการทำเว็บไซต์ที่ ขาดไม่ได้คือ การทำ เว็บไซต์ต้องมีการติดต่อเชื่อมโยงกับเว็บไซต์ เพื่อโฆษณา หรือแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างกัน  หากเว็บไซต์ใดมีการเชื่อม ต่อ  (Link) ข้อมูลมากเท่าไหร่ คนก็นิยมใช้กันมากขึ้น 
        ข้อควรระวังในการทำ Link ไม่ว่าจะเป็นแบบ Hiperlink Framming หรือ Metatag คือหากงานทำ Link นั้นมีลิขสิทธิ์ท่านได้ ขออนุญาต ใช้ลิขสิทธิ์จาก เจ้าของงานแล้วหรือไม่ ซึ่งหากคำตอบคือ “ไม่” การนำเอา งานลิขสิทธิ์ของผู้อื่นมาดาวน์โหลดใน เว็บไซต์ของท่าน อาจถือว่าเป็นการทำซ้ำ หรือเผยแพร่งานลิขสิทธิ์ของ ผู้อื่นตามพระราชบัญญัตลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้ 
    มาตรา ๔
        “ทำซ้ำ” หมายความรวมถึงคัดลอกไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ เลียนแบบ ทำสำเนา ทำแม่พิมพ์ บันทึกเสียงและ ภาพจากต้นฉบับ จากสำเนา หรือการโฆษณา ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ ทังนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน  สำหรับในส่วนที่เกี่ยวกับโปรแกรม คอมพิวเตอร์ ให้ความหมายถึงคัดลอกหรือทำสำเนาโปรแกรม คอมพิวเตอร์จากสื่อบันทึกใด ๆ ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัด ทำงานชิ้นใหม่ทั้งนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
        “เผยแพร่ต่อสาธารณชน” หมายความว่า ทำให้ปรากฏต่อสาธารณชนโดยการแสดง บรรยาย การ สวด การแสดง ทำให้ ปรากฏ ด้วยเสียง หรือภาพ การก่อสร้าง การจำหน่าย หรือโดยวิธีอื่นใดซึ่งงานที่ได้จัด ทำขึ้น
     มาตรา ๒๗  การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา ๑๕(๕) ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังนี้
        การทำซ้ำ หรือดัดแปลง
        เผยแพร่ต่อสาธารณชน
     มาถึงจุดนี้อาจจะมีหลายคนสงสัยว่าถ้าเป็นอย่างที่กล่าวมาข้างต้นจริง ถ้าอย่างนั้นเว็บไซต์ต่างๆ ในปัจจุบันที่มีการทำลิงค์กัน อย่างมากมายนั้นก็ผิดกฎหมายกันหมด คำตอบนั้นอาจจะอยู่ที่ว่างานที่นำมาใช้ ลิงค์นั้นอาจจะไม่มีลิขสิทธิ์ก็เป็นได้  แต่ถ้าหากเป็นงานที่มีลิขสิทธิ์การจะละเมิดลิขสิทธ์หรือไม่นั้นิ์ขึ้นอยู่กับ ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทบถึงสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ หรือไม่ แต่ถ้าหากเป็นการทำ Hyperlink โดยเชื่อมต่อไปยังหน้าโฮมเพจของบุคคลอื่นโดยตรง แต่ไม่ได้ทำเพื่อแสวงหากำไร และมีการแสดงที่มา ของข้อมูล การทำลิงค์ดังกล่าวก็ไม่ถือว่าผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ เนื่องจากว่าการทำ Hyperlink ดังกล่าว  เมื่อ พิจารณาในทางเทคนิคเว็บไซต์ที่ทำ Hyperlink ชี้ไปยังเว็บไซต์อื่นนั้นจะกระทำได้โดยไม่มีการนำงาน ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นมาไว้ในคอมพิวเตอร์ Server ของเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงเว็บไซต์ดังกล่าวเป็นแต่เพียงตัวกลาง (conveyor)  ในการเชื่อมต่อไปยัง เว็บไซต์ที่อ้างอิงเท่านั้น
     ในต่างประเทศระเบียบปฏิบัติที่ทำเป็นมาตรฐาน คือเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงข้อมูลจำนวนมากมักทำสัญญา ขออนุญาตให้ใช้ ข้อมูลกันเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องหลักฐานการฟ้องร้องในภายหลัง 
    Term & Condition หรือข้อกำหนดและเงื่อนไขในการประกอบกิจการเว็บไซต์ เนื่องจาก ในการซื้อขายสินค้าบนอินเทอร์เน็ตนั้นมีคนที่มีเชื้อชาติมากมายหลายภาษา สัญชาติต่างกัน กฎหมายก็ต่าง กัน ดังนั้นผู้ประกอบกิจการ E-commerce จึงควรกำหนดกฎกติกาในการซื้อขาย หรือให้บริการที่เป็นกลาง สำหรับผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต และเพื่อประโยชน์ในทางการค้าของท่านเอง โดยใน Term & Condition ดังกล่าวควรกำหนดข้อจำกัดความรับผิดชอบในเรื่องความชำรุดบกพร่องของสินค้าหรือบริการ (Limitation of liability) กฎหมายข้อบังคับใช้ (Governing Law)  ซึ่งควรเป็นกฎหมายไทย  และข้อกำหนดอื่นๆ อีกมากมาย 
        นอกจากนี้ควรเพิ่มข้อปฏิเสธความรับผิดที่เรียกว่า “Disclaimer” เข้าไปในเว็บไซต์ โดยรายละเอียด ของ Disclaimer ส่วนใหญ่ควรระบุเกี่ยวกับการยกเว้นความรับผิด หรือความเสียหายที่เกิดจากความผิด พลาดของคอมพิวเตอร์ การกระทำ ของแฮคเกอร์ หรือไวรัสคอมพิวเตอร์ต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาข้อพิพาททาง กฎหมายในภายหลัง และอีกสิ่งหนึ่งที่เว็บไซต์ทั่วไป ควรระบุไว้คือ “Privacy Policy หรือนโยบายคุ้มครองข้อ มูลส่วนบุคคล”  ซึ่งจะระบุรายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายในการคุ้มครองของข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ ของเว็บไซต์ว่าเว็บไซต์ของท่านใช้ระบบรักษาความปลอดภัยแบบใด  SSL (Secure Socket Layer) หรือSET แล้วแต่กรณี เพื่อให้ผู้ใช้บริการหรือสมาชิกเว็บไซต์ของท่านมั่นใจได้ว่าข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าท่านจะได้รับการคุ้มครอง

ที่มา : http://www.ck2000.net/law/ecommerce.html

4 Responses

  1. ยาวมากๆๆๆค่ะ ทำไมเยอะจังค่ะ

  2. คลอบคลุมทุกเนื้อหา ดีมากครับ

  3. ทำให้รู้เกี่ยวกับกฎหมายของ E-Commerce อีกด้วยค่ะ

ใส่ความเห็น