อักษรสามหมู่ (อักษร 3 หมู่)

อักษรสามหมู่ (อักษร 3 หมู่)  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

ไตรยางศ์

อักษรสามหมู่  ได้แก่
   อักษรกลาง

   อักษรสูง
   อักษรต่ำ

ภาษาไทยของเรามีพยัญชนะ  ๔๔  รูป  ๒๑  เสียง

มีพยัญชนะที่นำมาใช้  ๔๒  รูป  (ฃ  และ  ฅ  ไม่ได้ใช้แล้ว)  ถึงอย่างไรนั้น  นักเรียนก็จำเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้เรื่องหมู่ของอักษรไทย  (พยัญชนะไทย)  ซึ่งแบ่งออกเป็นสามหมู่  ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนภาษาไทยเกี่ยวกับเสียงวรรณยุกต์ (ว่าด้วยการผันอักษร)

         นักปราชญ์ทางภาษาไทยในอดีตจึงจัดแบ่งพยัญชนะไทยออกเป็นสามหมู่ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  “ไตรยางศ์”  นะครับ   และชื่ออันเป็นที่คุ้นหูกัน นั่นคือ  “อักษรสามหมู่”

อักษรสามหมู่  ได้แก่
   อักษรกลาง
อักษรสูง
อักษรต่ำ

อักษรกลาง   

อักษรกลาง  มีทั้งหมด ๙ ตัว  ได้แก่
ก จ ด ฎ ต ฏ บ ป อ

อักษรกลางที่นิยมนำมาผันอักษร มี ๗ ตัว นะครับ  ได้แก่อักษร     ก จ ด ต บ ป และ  อ    ส่วนอักษร   ฎ และ  ฏ   นั้นไม่นิยมนำมาผันอักษร

วิธีการท่องจำอักษรกลางเพื่อให้เกิดองค์ความรู้สู่ทักษะพุทธิพิสัยขั้นสูงต่อไป  หมั่นฝึกว่า   ไก่  จิก  เด็ก  ตาย   (ฎ ฏ)   บน  ปาก   โอ่ง  (นิยมท่องกันแบบนี้)
หรือ    นักเรียนคนไหนต้องการสร้างคำอื่น ๆ  เพื่อเป็นหลักแห่งการท่องจำก็ย่อมทำได้ ไม่ผิดนะครับ)

อักษรสูง

อักษรสูง  มีทั้งหมด ๑๑ ตัว ได้แก่

ข   ฃ   ฉ   ฐ   ถ   ผ   ฝ   ศ   ษ   ส   ห

อักษรสูงที่นิยมนำมาผันอักษรมี  ๗  ตัว คือ ข  ฉ  ถ  ผ  ฝ  ส  ห
ส่วนอักษร  ฃ  ฐ  ษ  ศ   ไม่นิยมนำมาผันอักษร

วิธีการท่องจำอักษรสูงเพื่อให้เกิดองค์ความรู้สู่ทักษะพุทธิพิสัยขั้นสูงต่อไป  หมั่นฝึกว่า

บทสำหรับจำอักษรสูง  (ครูคิดเอง หากนักเรียนต้องการจดจำคำอื่นก็สามารถแต่งเองได้ นะครับ)    ไข่  (ฃ)  ขวด   ฉิ่ง   ฐาน  ถุง  ผึ้ง  ฝา  (ศ ษ ส) สามสอ  หาย
         หรือ    ฃ (ขวด)  ของ   ฉัน   ถูก   ผี  เศรษฐี (ศษฐ)    ฝัง   สาป  หาย

อักษรต่ำ

อักษรต่ำ  มีทั้งหมด ๒๔ ตัว ได้แก่
ค ฅ ฆ ง

ช ซ ฌ ญ

ฑ ฒ ณ ท ธ น
พ ฟ ภ ม

ย ร ล  ว ฬ ฮ
อักษรต่ำที่นิยมนำมาผันอักษร คือ ค ง ช ท น พ ฟ ม ย ร ล ว
อักษรต่ำ  แยกออกเป็น  อักษรคู่  และ  อักษรเดี่ยว เพื่อประโยชน์ในการผันอักษรให้ครบ  ๕  เสียง  ดังนี้

         อักษรคู่  มีทั้งหมด ๑๔ ตัว ได้แก่

ค ฅ ฆ ช ซ ฌ ฑ ฒ ท ธ พ ฟ ภ ฮ
โดยอักษรคู่นี้ต้องผันเสียงทำหน้าที่ร่วมกับอักษรสูง  (พิจารณาตามหน่วยเสียง)  ดังนี้

/ค/   ค ฅ ฆ           ผันอักษรร่วมกับ  ข

/ช/   ช ฌ             ผันอักษรร่วมกับ  ฉ

/ซ/   ซ                ผันอักษรร่วมกับ  ส

/ท/   ฑ ฒ ท ธ       ผันอักษรร่วมกับ  ถ

/พ/   พ  ภ             ผันอักษรร่วมกับ  ผ

/ฟ/   ฟ                 ผันอักษรร่วมกับ  ฝ

/ฮ/   ฮ                  ผันอักษรร่วมกับ  ห

อักษรเดี่ยว  มีทั้งหมด ๑๐ ตัว ได้แก่

ง  ญ  ณ  น  ม   ย   ร   ล  ว  ฬ

บทสำหรับจำอักษรเดี่ยว (ครูคิดเอง หากนักเรียนต้องการจดจำคำอื่นก็สามารถแต่งเองได้ นะครับ)     เงิน  ญวน  เณร นำ มา  ไร้ ลาย ว่าว จุฬา

โดยอักษรเดี่ยวนี้ต้องผันเสียงทำหน้าที่ร่วมกับอักษร  “อ  และ  ห”  อันทำหน้าที่เป็นอักษรนำเพื่อผันอักษรให้ครบ ๕ เสียง

ด้วยความประสงค์ให้นักเรียนทุกคนจดจำได้อย่างง่าย-เข้าใจ  นำไปใช้ได้ตลอดไป

จาก  ครูปิยะฤกษ์  บุญโกศล

โรงเรียนโพนทันเจริญวิทย์

17 Responses

  1. มีสาระมากมายให้เลือกศึกษา

  2. ไม่มีอักษร 3 หมู่เลย

  3. มีสาละมากมายหลายอย่างคะ

    • ครับ ขอบคุณครับ พยายามศึกษาให้มาก ๆ นะครับ หากมีเรื่องใดสงสัยสามารถถามได้ทางบล็อกหรือแฟนเพจได้นะครับ

    • ต้องเขียนว่า “สาระ” แทนคำว่า สาละ นะครับ

  4. มีข้อมูลมากมายเลยครับ

  5. ที่จิงก้อน่าจะมีการยกตัวอย่างในการท่องจำที่แต่งเองเยอะๆนะ

  6. หนูอยากรู้ค่ะว่าตัวอย่างคำในเรื่องเสภาขุนช้าง ขุนแผนอ่ะค่ะ มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรต่ำเดี่ยว และให้มีเสียงเช่นเดียวกับคำว่า แอ้กแอ้ก อ่ะค่ะเราจะดูยังไงสระแบบไหนค่ะและวิธีการดูอ่ะค่ะ อยากรู้มากๆๆๆ สงสัยมานาน ช่วยยกตัวอย่าง3คำจะได้ไหมค่ะ

    • แอ้กแอ้ก ให้เสียงวรรณยุกต์ โท

      เราต้องศึกษาอักษรไตรยางศ์และการผันเสียง/อักษร
      ได้เสียงวรรณยุกต์โท เช่น ได้ ก้ม พรั่น ราช หน้า ว่า ไม่ คร่า เพื่อน บ้าน ก็ ใต้

  7. ขอสอบถามหน่อยค่ะ อย่างตัว ฤ จัดเป็นพยัญชนะหรือสระคะ ถ้าจัดเป็นพยัญชนะ จะจัดอยู่ในไตรยางค์หมวดไหนคะ

    • ฤ ให้เสียงพยัญชนะต้นเป็น [ร] ครับ เทียบเสียงไตรยางศ์ เป็น อักษรเดี่ยว (ต่ำเดี่ยว) ครับ
      ออกเสียงสระได้ 3 เสียง ได้แก่ ฤทัย (อึ) ฤทธิ์ (อิ) และ ฤกษ์ (เออ) ครับ

ส่งความเห็นที่ krupiyarerk ยกเลิกการตอบ