วันนี้บล็อกเรียนภาษาไทยในคอมกับครูปิยะฤกษ์ขอนำบทความเรื่อง “คำลงท้ายในบทอาศิรวาท” มาให้นักเรียนได้ศึกษากันนะครับ ซึ่งครูคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อนักเรียนมาก ๆ ในด้านหลักการใช้คำราชาศัพท์เลยทีเดียวครับ
โดย สุดสงวน
(จากนิตยสารสกุลไทย ฉบับที่ ๒๖๗๗ ปีที่ ๕๒ ประจำวันอังคาร ที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
“…การใช้ราชาศัพท์ ถ้าเอาไปใช้ในการแต่งบทประพันธ์ หรือวรรณคดีนั้นเราใช้ได้ เป็นศิลปะ แต่เมื่อใช้ราชาศัพท์ต่อองค์พระมหากษัตริย์นี้ เราต้องรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี จะต้องเรียนจริง ๆ จัง ๆ จะต้องใช้เวลา แล้วก็ต้องมีความชำนิชำนาญในการที่จะใช้ นี่เป็นการเตือนเพื่อนครูภาษาไทยว่า เมื่อได้ฟังใครเขาใช้ราชาศัพท์ ไม่ใช่ว่าจะถูกทุกทีไป คือว่าควรจะถามหลาย ๆ คนว่าที่ใช้อย่างนี้ถูกต้องหรือไม่…”
หม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ อภิปรายในการประชุมวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๐๕
คัดคำปรารภของ ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ เชื้อพระวงศ์จากราชสกุล “กุญชร” หนึ่งในราชตระกูลแห่งราชวงศ์จักรี ซึ่งกล่าวออกตัวต่อพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก่อนอภิปรายในการประชุมครั้งสำคัญอันเป็นต้นกำเนิด “วันภาษาไทยแห่งชาติ” ด้วยก่อนหน้านั้น ท่านขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตอภิปรายในที่ประชุมด้วยภาษาสามัญ ไม่ขอให้ราชาศัพท์ โดยอ้างว่าท่านเป็นแต่ข้าราชการฝ่ายหน้า ไม่เคยเป็นข้าราชการฝ่ายใน “คงจะมีการพลาดพลั้ง” ทำให้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีรับสั่งคั่นว่า
“ให้อนุญาตน่ะให้ละ แต่ขอตั้งข้อสังเกตอย่างหนึ่งว่า ราชาศัพท์นั้นเป็นภาษาวรรณคดี ทุกคนควรจะทราบ โดยเฉพาะในคณะอักษรศาสตร์นี้”
อ่านเพิ่มเติม
Filed under: คำลงท้ายในบทอาศิรวาท,บทความเกี่ยวกับการใช้คำราชาศัพท์ที่ควรทราบ | Tagged: การใช้คำราชาศัพท์,บทความคำลงท้ายในบทอาศิรวาท,บทความจากนิตยสารสกุลไทย,บทความภาษาไทย,สกุลไทย,สุดสงวน | 7 Comments »