แขนงวิชาของภาษาศาสตร์เชิงทฤษฎี

แขนงวิชาของภาษาศาสตร์เชิงทฤษฎี

      บ่อยครั้ง ภาษาศาสตร์เชิงทฤษฎีสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายแขนง บางแขนงสามารถศึกษาได้โดยอิสระ บางแขนงก็ต้องศึกษาควบคู่กับแขนงอื่น อย่างไรก็ตาม เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า ภาษาศาสตร์เชิงทฤษฎีสามารถแบ่งออกเป็นแขนงต่าง ๆ ได้ดังนี้

สัทศาสตร์ (Phonetics) เป็นการศึกษาเสียงต่างๆ ซึ่งใช้ร่วมกันในภาษามนุษย์ทุกภาษา

สัทวิทยา (Phonology) เป็นการศึกษารูปแบบเสียงพื้นฐานของภาษา

วิทยาหน่วยคำ (Morphology linguistics) เป็นการศึกษาโครงสร้างภายในของคำและการเปลี่ยนรูปของคำ

วากยสัมพันธ์ (Syntax) เป็นการศึกษาการประกอบคำขึ้นเป็นประโยคที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์

อรรถศาสตร์ (Semantics) เป็นการศึกษาความหมายของคำ (lexical semantics) และวิธีการประกอบคำขึ้นเป็นประโยคเพื่อสื่อความหมาย

วัจนปฏิบัติศาสตร์ (Pragmatics) เป็นการศึกษาวิธีการใช้ถ้อยความ (utterance) เพื่อสื่อความหมายในการสื่อสาร เช่น แบบตรงตัว (literal pragma) แบบอุปมาอุปไมย (figurative pragma) ฯลฯ

ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ (Historical linguistics) เป็นการศึกษาภาษาต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กันในเชิงประวัติศาสตร์ ซึ่งสามารถสังเกตได้จากความใกล้เคียงของคำศัพท์ การสร้างคำ และวากยสัมพันธ์

แบบลักษณ์ภาษา (Linguistic typology) เป็นการศึกษาคุณสมบัติทางไวยากรณ์ที่ใช้อยู่ในภาษาต่างๆ

วัจนลีลาศาสตร์ (Stylistics linguistics) เป็นการศึกษาลีลาในการใช้ภาษา

อย่างไรก็ตาม ความสำคัญเฉพาะของแขนงต่าง ๆ ก็ยังไม่เป็นที่ทราบโดยทั่วกัน และนักภาษาศาสตร์ทุกท่านก็เห็นพ้องกันว่า การแบ่งแขนงแบบดังกล่าวยังคงมีขอบเขตซ้อนทับกันอยู่มาก ถึงกระนั้น แขนงย่อยก็ยังคงมีคอนเซ็ปต์แก่นซึ่งสนับสนุนการตั้งประเด็นปัญหาและการวิจัย ของผู้ชำนาญการได้เป็นอย่างดี

ที่มา  :  วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.   ภาษาศาสตร์ : แขนงของวิชาภาษาศาสตร์เชิงทฤษฎี

              (ออนไลน์).   เข้าถึงได้จาก  :  

             http://th.wikipedia.org/ภาษาศาสตร์

              (วันที่ค้นข้อมูล  :  ๑  ตุลาคม  ๒๕๕๔).