มาณวกฉันท์ ๘

มาณวกฉันท์ ๘

แผนผังบังคับมาณวกฉันท์ ๘

ฉันทลักษณ์มาณวกฉันท์ ๘

มาณวกฉันท์  (อ่านว่า  มา-นะ-วะ-กะ-ฉัน)  เรามาพินิจภาษาคำนี้ดูนะครับว่า   มาณวกฉันท์  มีความหมายว่าอย่างไร

มาณวกฉันท์  ไม่มีความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  แต่หากพินิจภาษาดูให้ดีแล้วนะครับ  จะพบว่าคำนี้มาจากคำว่า  มาณพ  แผลง พ  เป็น  ว  เป็นคำมาจากภาษาบาลีสันสกฤต  หมายถึง  ผู้เป็นชายหนุ่ม,  ผู้เป็นชายรุ่น

มาณวกฉันท์ ๘  จึงเป็นชื่อฉันท์อย่างหนึ่ง ควรจะมีความหมายถึง  “ฉันท์ที่มีลีลาเหมือนผู้เป็นชายหนุ่มในลักษณะที่กระฉับกระเฉง”    ซึ่งฉันท์ประเภทนี้ใช้สำหรับบรรยายเรื่องที่รวดเร็ว  เวลาอ่านได้รับรสรู้สึกว่าผาดโผน  เกิดความรื่นเริงและตื่นเต้น
คณะและพยางค์ 

มาณวกฉันท์    ๑  บท ประกอบด้วยคณะและพยางค์  ดังนี้
มี ๔ บาท  วรรคหน้ามีจำนวน  ๔  คำ/พยางค์   และวรรคหลังมีจำนวน  ๔  คำ/พยางค์  เช่นเดียวกับวรรคหน้า

๑  บาท  นับจำนวนคำได้  ๘  คำ/พยางค์   ดังนั้น  จึงเขียนเลข  ๘ หลังชื่อ      มาณวกฉันท์ นี่เองครับ   แต่นักเรียนต้องสังเกตที่ครุ-ลหุ  ในแต่ละบาทจะปรากฏคำครุ-  คำลหุ  ดังนี้

วรรคหน้าเป็นครุในคำที่  ๑  และ  คำที่  ๔    เป็นลหุในคำที่  ๒  และ  คำที่  ๓

วรรคหลังเป็นครุในคำที่  ๑  และ  คำที่  ๔    เป็นลหุในคำที่  ๒  และ  คำที่  ๓  เช่นเดียวกันกับวรรคหน้า

มาณวกฉันท์   ๑  บทมีจำนวนทั้งสิ้น  ๓๒  คำ/พยางค์

สัมผัส

พบว่า  มาณวกฉันท์  มีสัมผัสนอก  (ที่เป็นสัมผัสภายในบท)  จำนวน  ๕  แห่ง ดังนี้

๑.  คำสุดท้ายของวรรคหน้าในบาทที่  ๑   ส่งสัมผัสกับคำที่  ๑  ของ วรรคหลังในบาทเดียวกัน

๒.  คำสุดท้ายของวรรคหลังในบาทที่  ๑  ส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคหน้าในบาทที่  ๒

๓.  คำสุดท้ายของวรรคหลังในบาทที่  ๒  ส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคหลังในบาทที่  ๓

๔.  คำสุดท้ายของวรรคหน้าในบาทที่  ๓  ส่งสัมผัสกับคำที่  ๑  ของวรรคหลังในบาทเดียวกัน

๕.  คำสุดท้ายของวรรคหลังในบาทที่  ๓  ส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคหน้าในบาทที่  ๔

          สัมผัสระหว่างบท  พบว่า  คำสุดท้ายของบท  ส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคหลังในบาทที่  ๒  ของบทต่อไป

          คำครุ  ลหุ   มาณวกฉันท์   ๑  บท  มีคำครุทั้งหมด  ๑๖  คำ/พยางค์  และมีคำลหุทั้งหมด  ๑๖  คำ/พยางค์   ให้นักเรียนสังเกตสัมผัสบังคับ  (สัมผัสนอก)  และบังคับครุ-ลหุ  มาณวกฉันท์  ๘  ตามผังภาพ

คำครุ   สัญลักษณ์แทนด้วย    ั

       คำลหุ   สัญลักษณ์แทนด้วย    ุ    ให้นักเรียนดูตัวอย่างตามผังภาพ ครับ

แผนผังบังคับและตัวอย่างคำประพันธ์มาณวกฉันท์ 8

ตัวอย่างคำประพันธ์มาณวกฉันท์ ๘