บทความภาษาไทยน่ารู้/เกร็ดความรู้ภาษาไทย

บทความภาษาไทยน่ารู้/เกร็ดความรู้ภาษาไทย

ราชาศัพท์ของคำว่า “ถ่ายรูป”, “รูปถ่าย”

การเลือกใช้ราชาศัพท์ของคำกริยา “ถ่ายรูป” ควรพิจารณาจากเนื้อหาที่ประสงค์จะอธิบาย  หากสามัญชน “ถ่ายรูป” พระมหากษัตริย์ ราชาศัพท์ใช้ว่า “ฉายพระบรมฉายาลักษณ์” หรือ “ฉายพระรูป”  หากสามัญชน “ถ่ายรูป” สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ราชาศัพท์ใช้ว่า “ฉายพระฉายาลักษณ์” หรือ “ฉายพระรูป”   และหากสามัญชน “ถ่ายรูป” พระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ลงมาจนถึงพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า ราชาศัพท์ใช้ว่า “ฉายพระรูป”   อนึ่ง หากพระมหากษัตริย์ หรือพระบรมวงศานุวงศ์ “ถ่ายรูป” สามัญชน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ราชาศัพท์ใช้ว่า “ทรงฉาย” หรือ “ทรงถ่ายรูป”   หากพระมหากษัตริย์ หรือพระบรมวงศานุวงศ์ “ถ่ายรูป” พระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ลงมาจนถึงพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า ราชาศัพท์ใช้ว่า “ทรงฉายพระรูป”   ทั้งนี้ในสมัยโบราณไม่ว่าพระมหากษัตริย์จะทรงเป็นผู้ถ่ายรูปเองหรือมีช่างภาพถ่ายรูปให้ ราชาศัพท์ใช้ว่า “ทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์, ทรงฉายพระรูป” หรือ “ทรงฉาย”  ก็มี ปัจจุบัน หากพระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ช่างภาพถ่ายรูปให้ อ่านเพิ่มเติม

บทความ “ราชาศัพท์ที่มักใช้กันไม่ถูกต้อง”

ราชาศัพท์ที่มักใช้กันไม่ถูกต้อง

ผู้เขียน : ศ.จำนงค์ ทองประเสริฐ

           เรื่องการใช้ “ราชาศัพท์” นี้เป็นเรื่องที่มีปัญหาอยู่มาก ดังที่ได้เคยพบเห็นกันมาบ้างแล้ว แต่ถึงกระนั้นก็ปรากฏว่ายังมักใช้กันไม่ถูกต้องอยู่ตลอดมา ทั้งนี้ก็เพราะเราทุกคนต่างก็ประสงค์จะใช้คำ “ราชาศัพท์” ให้ถูกต้อง แต่บางทีก็ไม่ทราบว่าจะไปปรึกษาหารือใคร ก็เลยมักใช้เท่าที่ตนคิดว่าถูกต้อง บางทีก็ขาดไปบ้าง บางทีก็เกินไปบ้าง ในเรื่องนี้ ม.ล. ปีย์ มาลากุล ท่านได้เคยตั้งข้อสังเกตเท่าที่ท่านเคยพบเห็น และได้ยินได้ฟังอยู่เสมอ โดยเฉพาะคำว่า “ถวายการต้อนรับ” ที่ใช้กันอยู่เป็นประจำทั้งทางวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ คงเป็นเพราะเวลาใช้กับบุคคลชั้นนำของประเทศที่มิใช่พระมหากษัตริย์หรือเจ้านาย เคยใช้ว่า “ให้การต้อนรับ” พอเปลี่ยนเป็นราชาศัพท์ก็เลยกลายเป็น “ถวายการต้อนรับ” ซึ่งเป็นสำนวนฝรั่งมากไปหน่อย ข้อสังเกตของ ม.ล. ปีย์ มาลากุล นับว่ามีประโยชน์อยู่มาก ท่านได้ให้ข้อสังเกตและชี้แจงวิธีใช้ราชาศัพท์ที่ถูกต้องไว้ และข้าพเจ้าขอขยายความเพิ่มเติมในบางประเด็นบ้าง ดังนี้

๑.  คำว่า “ถวายการต้อนรับ” และ “ถวายความจงรักภักดี” อ่านเพิ่มเติม

ฐานันดรศักดิ์

ฐานันดรศักดิ์  

ฐานันดรศักดิ์ คือ ระดับชั้นหรือยศของพระบรมวงศานุวงศ์ไทยในสมัยโบราณ เทียบกับคำภาษาอังกฤษคือ Royal Title   ฐานันดรศักดิ์แบ่งออกได้  ดังนี้

อ่านเพิ่มเติม

พระอิสริยศักดิ์

ความหมาย  “พระอิสริยศักดิ์    ฐานันดรศักดิ์   บรรดาศักดิ์    ราชทินนาม”

 

ผู้เขียน  :  นายปิยะฤกษ์  บุญโกศล

          ความหมาย  อิสริยศักดิ์    ถึงวันนี้ต้องเริ่มทำความเข้าใจกันเป็นลำดับ ๆ

          อิสริยศักดิ์  เกิดจากคำว่า  อิสริย,  อิสริยะ  อ่านว่า  อิดสะริยะ   อ่านเพิ่มเติม

คำลงท้ายในบทอาศิรวาท

วันนี้บล็อกเรียนภาษาไทยในคอมกับครูปิยะฤกษ์ขอนำบทความเรื่อง  “คำลงท้ายในบทอาศิรวาท”  มาให้นักเรียนได้ศึกษากันนะครับ  ซึ่งครูคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อนักเรียนมาก ๆ  ในด้านหลักการใช้คำราชาศัพท์เลยทีเดียวครับ

โดย  สุดสงวน

(จากนิตยสารสกุลไทย  ฉบับที่ ๒๖๗๗  ปีที่  ๕๒ ประจำวันอังคาร ที่  ๗ กุมภาพันธ์  ๒๕๔๙

“…การใช้ราชาศัพท์ ถ้าเอาไปใช้ในการแต่งบทประพันธ์ หรือวรรณคดีนั้นเราใช้ได้ เป็นศิลปะ แต่เมื่อใช้ราชาศัพท์ต่อองค์พระมหากษัตริย์นี้ เราต้องรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี จะต้องเรียนจริง ๆ จัง ๆ จะต้องใช้เวลา แล้วก็ต้องมีความชำนิชำนาญในการที่จะใช้ นี่เป็นการเตือนเพื่อนครูภาษาไทยว่า เมื่อได้ฟังใครเขาใช้ราชาศัพท์ ไม่ใช่ว่าจะถูกทุกทีไป คือว่าควรจะถามหลาย ๆ คนว่าที่ใช้อย่างนี้ถูกต้องหรือไม่…”

หม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ อภิปรายในการประชุมวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๐๕

คัดคำปรารภของ ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ เชื้อพระวงศ์จากราชสกุล “กุญชร” หนึ่งในราชตระกูลแห่งราชวงศ์จักรี ซึ่งกล่าวออกตัวต่อพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก่อนอภิปรายในการประชุมครั้งสำคัญอันเป็นต้นกำเนิด “วันภาษาไทยแห่งชาติ” ด้วยก่อนหน้านั้น ท่านขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตอภิปรายในที่ประชุมด้วยภาษาสามัญ ไม่ขอให้ราชาศัพท์ โดยอ้างว่าท่านเป็นแต่ข้าราชการฝ่ายหน้า ไม่เคยเป็นข้าราชการฝ่ายใน “คงจะมีการพลาดพลั้ง” ทำให้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีรับสั่งคั่นว่า

“ให้อนุญาตน่ะให้ละ แต่ขอตั้งข้อสังเกตอย่างหนึ่งว่า ราชาศัพท์นั้นเป็นภาษาวรรณคดี ทุกคนควรจะทราบ โดยเฉพาะในคณะอักษรศาสตร์นี้”

          อ่านเพิ่มเติม

บทความเกี่ยวกับการใช้คำราชาศัพท์ที่ควรทราบ

บล็อกเรียนภาษาไทยในคอมกับครูปิยะฤกษ์  ขอนำบทความที่ครูคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อนักเรียนมาฝาก เชิญติดตามครับ

ก่อนที่จะติดตามบทความเกี่ยวกับการใช้คำราชาศัพท์ที่ควรทราบ  ขอเชิญรับฟังวีดีโอคำราชาศัพท์ผสานดนตรีที่เป็นทำนองไทย ๆ ครับ  เพราะมาก ๆ

เพลงการใช้คำว่า “ทรง” ในคำราชาศัพท์