ครุ ลหุ คือ

ครุ ลหุ คือ

ครุ และ ลหุ  หมายถึงลักษณะของเสียงคำหรือพยางค์ อย่างไรละครับนักเรียน  มีประโยชน์อย่างยิ่งในการแต่งคำประพันธ์ประเภทฉันท์  เนื่องจากคำประพันธ์ประเภทฉันท์นั้นบังคับครุ  ลหุ

สรุป ครุ ลหุ คือ

ครุ  (อ่านว่า  คะ-รุ)  หมายถึง  เสียงหนัก    หนักอย่างไร

เป็นคำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวไม่มีตัวสะกดก็ได้  หรือเป็นคำหรือพยางค์ที่มีเสียงตัวสะกดทุกมาตรา  (ได้แก่  แม่ กก  กด  กบ  กง  กน  กม  เกย  และเกอว)  เช่นคำว่า  ฟ้า  นั่ง  พริก  ไหม  พรม  นนท์  เชษฐ์  เป็นต้น

ลหุ  (อ่านว่า  ละ-หุ)  หมายถึง  เสียงเบา    เบาอย่างไร

เป็นคำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นและไม่มีตัวสะกด  หรือเป็นคำหรือพยางค์ที่มีเสียงสระเสียงสั้นและไม่มีเสียงตัวสะกด  เช่นคำว่า  ณ  ธ  บ่  ก็  พิ  ผิ  ลุ  เจาะ  เหาะ  ทะ  เละ  แพะ  และ  เลอะ  เป็นต้น

ทั้งหมดนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

คำครุ คำลหุ

 

ตัวอย่างคำครุ คำลหุ

พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดงานสภากาชาดไทย

จำแนกคำ/พยางค์

ครุ

ลหุ

พระ

/

องค์

/

/

เด็จ

/

พระ

/

ราช

/

/

ดำ

/

เนิน

/

ไป

/

ทรง

/

เปิด

/

งาน

/

/

ภา

/

กา

/

ชาด

/

ไทย

/

โดย  ครูปิยะฤกษ์  บุญโกศล

โรงเรียนโพนทันเจริญวิทย์  เผยแพร่เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๔

20 Responses

  1. ขอบคุณมากค่ะ ช่วยได้เยอะเลยค่ะ

  2. ขอบคุณมากค่ะ สำหรับความรู้ดีๆในภาษาไทย ที่เด็กสมัยใหม่ มักจะลืมเลือนไปแล้ว

  3. ขอบคุณข้อมูลดีๆนะคะ

  4. เข้าใจแล้วคับ

  5. ขอบคุณมากนะคะ เข้าใจแล้วค่ะ

  6. ขอบคุณมากๆเลยค่ะ เข้าใจขึ้นเยอะเลย

  7. ขอบคุณจร้าๆ

  8. ขอบคุณมากกกก ๆ ครับ เข้าใจอย่างมาก

  9. ก็นี่มันเสียงยาวไม่ใช่หรอครับผม ผมสงสัย?? ก็ อ่านกว่า ก้ออ…

    • เสียงสั้นครับ ก็ ไม่ได้ออกเสียง ก้อ
      เสียง สระเอาะ แต่สระเปลี่ยนรูปเป็น ็ ครับ

  10. เพิ่มเติมให้ ไปเจอมา ครุ(ไม้หันอากาศ) ลหุ(สระอุ)
    วิธีจำคือ
    *ลหุ สระอุ เพราะครุ สระอุ๊ไม่มี*

ใส่ความเห็น