สาลินีฉันท์ ๑๑

สาลินีฉันท์ ๑๑

แผนผังบังคับสาลินีฉันท์ ๑๑

สาลินีฉันท์  (อ่านว่า  สา-ลิ-นี-ฉัน)  ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  กล่าวถึง  ชื่อฉันท์อย่างหนึ่ง บาทหนึ่งมี ๑๑ คํา วรรคหน้ามี ๕ คํา เป็นครุล้วน วรรคหลังมี ๖ คํา คําที่ ๑ และคําที่ ๔ เป็นลหุ  นอกนั้นเป็นครุ
คณะและพยางค์ 

สาลินีฉันท์  ๑  บท ประกอบด้วยคณะและพยางค์  ดังนี้
มี ๒ บาท  วรรคหน้ามีจำนวน  ๕  คำ/พยางค์   และวรรคหลังมีจำนวน  ๖  คำ/พยางค์  เช่นเดียวกัน

๑  บาท  นับจำนวนคำได้  ๑๑  คำ/พยางค์   ดังนั้น  จึงเขียนเลข  ๑๑ หลังชื่อ   สาลินีฉันท์  นี่เองครับ  (แต่ต้องสังเกตที่ครุ-ลหุ  ใน  ๑  บาท  จะปรากฏคำลหุเพียง ๒ แห่ง  คือคำที่  ๑  และคำที่  ๔  ในวรรคหลัง)

ทั้งบทมีจำนวนคำทั้งสิ้น  ๒๒  คำ/พยางค์

สัมผัส

พบว่า  สาลีนีฉันท์  มีสัมผัสนอก  (ที่เป็นสัมผัสภายในบท)  จำนวน  ๒  แห่ง ได้แก่

๑.  คำสุดท้ายของวรรคหน้าในบาทที่  ๑   ส่งสัมผัสกับคำที่ ๓  ของ วรรคหลังในบาทเดียวกัน

๒.  คำสุดท้ายของวรรคหลังในบาทที่  ๑  ส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคหน้าในบาทที่  ๒

          สัมผัสระหว่างบท  พบว่า  คำสุดท้ายของบท  ส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคหลังในบาทที่  ๑  ของบทต่อไป

          คำครุ  ลหุ   สาลีนีฉันท์  ๑  บท  มีคำครุทั้งหมด  ๑๘  คำ/พยางค์  และมีคำลหุทั้งหมด  ๔  คำ/พยางค์   ให้นักเรียนสังเกตสัมผัสบังคับ  (สัมผัสนอก)  และบังคับครุ-ลหุ  สาลินีฉันท์  ๑๑  ตามผังภาพ

คำครุ   สัญลักษณ์แทนด้วย    ั

       คำลหุ   สัญลักษณ์แทนด้วย    ุ    ให้นักเรียนดูตัวอย่างตามผังภาพ ครับ

แผนผังบังคับและตัวอย่างคำประพันธ์สาลินีฉันท์ 11

ตัวอย่างคำประพันธ์สาลินีฉันท์ ๑๑

ใส่ความเห็น