วันภาษาไทยแห่งชาติ : มารู้ที่มาของวันนี้

วันภาษาไทยแห่งชาติ : มารู้ที่มาของวันนี้

            วันนี้ตรงกับวันที่ ๒๙ กรกฎาคม สำหรับคนไทยหลายคนรู้จักกันดีว่าวันนี้เป็น “วันภาษาไทยแห่งชาติ”  ครับ  เอ…แล้ววันภาษาไทยแห่งชาติมีความเป็นมาอย่างไร   เอาล่ะ…เรียนภาษาไทยน่ารู้กับครูปิยะฤกษ์  จึงขอเสนอความรู้เกี่ยวกับวันภาษาไทยแห่งชาติให้ผู้ที่ผ่านมาศึกษาได้ทำความเข้าใจหรือรู้จักวันนี้ให้ดียิ่งขึ้นครับ

วันภาษาไทยแห่งชาติ

(ตรงกับวันที่  ๒๙  กรกฎาคม  ของทุกปี)

ความเป็นมาของวันภาษาไทยแห่งชาติ

          สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีในปี  ๒๕๔๒  ได้ประกาศให้วันที่  ๒๙  กรกฎาคม  ของทุกปี  เป็น  “วันภาษาไทยแห่งชาติ”  โดยถือกำหนดจากวันที่  ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานและทรงอภิปรายเรื่อง “ปัญหาการใช้คำไทย ” ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ในวาระอันเป็นประวัติศาสตร์ครั้งนั้น  พระองค์ได้พระราชทานพระราชดำริและพระราชวินิจฉัยที่มีคุณค่ายิ่งเกี่ยวกับภาษาไทยและการรักษาภาษาไทยให้บริสุทธิ์  ซึ่งได้แสดงให้ประจักษ์ถึงพระปรีชาพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยและความห่วงใยที่มีต่อการใช้ภาษาไทย จนเป็นที่ประทับใจผู้ร่วมประชุมครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง

                พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสตอนหนึ่ง  ความว่า

                 “เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่า วิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สาม คือ ความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้…สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็น ในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่า ๆ ที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก”

วัตถุประสงค์

             คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันอังคารที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๒ เห็นชอบให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

              ๑. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์ และนักภาษาไทย รวมทั้งเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ได้ทรงแสดงความห่วงใย และพระราชทานแนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย

              ๒. เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒

              ๓. เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกของคนไทยทั้งชาติให้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณ ค่าของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือร่วมใจกันทำนุบำรุงส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติให้คงอยู่คู่ชาติ ไทยตลอดไป

              ๔. เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการใช้ภาษาไทย ทั้งในวงวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งเพื่อยกมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาไทยในสถานศึกษาทุกระดับให้สัมฤทธิผลยิ่งขึ้น

              ๕. เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนทั่วประเทศมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเผยแพร่ความรู้ภาษาไทยในรูปแบบต่าง ๆ ไปสู่สาธารณชนทั้งในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ และในฐานะที่เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารของทุกคนในชาติ

            เป็นอย่างไรบ้างครับ จากความรู้ที่นำมาฝากกันเกี่ยวกับความเป็นมาของวันภาษาไทยแห่งชาติ  ภาษาไทยถือว่าเป็นภาษาของชาติไทย  เป็นวัฒนธรรมที่แสดงถึงความเป็นไทย   ส่วนบล็อกแห่งนี้ก็หวังที่จะให้นักเรียนหรือผู้ที่ผ่านมาศึกษาได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่า “ทำอย่างไรภาษาไทยของเราจึงจะไม่วิบัติ”  ครับ 

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ รายวิชา คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ รายวิชา คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

            เรื่องดี ๆ สำหรับคุณครูผู้สอนคณิตศาสตร์  วันนี้ คุณครูกัญญารัตน์  นาชัยภูมิ  ครู โรงเรียนเขื่องในพิทยาคาร ขอเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ เรื่อง “แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์  เรื่อง อสมการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3” 

            หากผู้อ่านสนใจดาวน์โหลดไว้ศึกษาสามารถคลิกที่ชื่อเรื่องท้ายนี้โหลดไว้ใช้ได้เลยครับ

               —  –  คำนำ

               —  –  เล่ม 2 ประโยคภาษาและประโยคสัญลักษณ์ 

 

คำขวัญวันครู ประจำปี 2557

คำขวัญวันครู ประจำปี 2557

              จากผลงานการประกวดคำขวัญวันครู  ประจำปี 2557  ของคุรุสภา  ความว่า

“เทิดพระเกียรติทั่วหล้า กตัญญูบูชา แม่และครูแห่งแผ่นดิน”  ซึ่งเป็นคำขวัญวันครู  ประจำปี พ.ศ. 2557

              การจัดงานวันครู มีครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2500 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499

              คำขวัญวันครูนั้นเดิมเป็นคำขวัญจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา  ต่อมาก็เป็นคำขวัญของบุคคลทั่วไปที่ส่งเข้าร่วมประกวด

 

รวมคำขวัญวันครูจากอดีตถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2522-พ.ศ.2557)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2522   การให้การศึกษาแก่คนในชาติ เป็นกระบวนการที่ต้องทำต่อเนื่องกันไปตลอดชีวิต ดังนั้นจึงต้องระดมสรรพกำลังหลาย ๆ ด้านมาช่วยเหลือการศึกษา ปัจจัยที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะขาดเสียมิได้ก็คือ ครูซึ่งจะเป็นผู้ผลักดันให้ทุกอย่างไปสู่เป้าหมายได้ ฉะนั้นท่านทั้งหลายคงตระหนักถึงหน้าที่อันมีเกียรตินี้ ในโอกาสที่วันสำคัญอย่างยิ่งของครูได้เวียนมาบรรจบครบรอบอีกวาระหนึ่ง ข้าพเจ้าในนามของกระทรวงศึกษาธิการและประธานอำนวยการคุรุสภา ขอส่งความปรารถนาดีและความระลึกถึงเพื่อนครูทุกท่าน ทั้งนอกและในราชการขอจงประสบแต่ความสุขความเจริญโดยทั่วกันและขอได้โปรด ตระหนักถึงหน้าที่ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีของครูที่ดีสืบไป  (นายแพทย์บุญสม มาร์ติน)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2523   เป็นครูต้องยึดถือคุณธรรมของครู  (ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2524  ครูที่แท้ต้องทำแต่ความดี ประพฤติปฏิบัติในระเบียบแบบแผนอันสมควรกับเกียรติภูมิของตน มีความรักในลูกศิษย์และอบรมปัญญาให้ลูกศิษย์มีความสมบูรณ์ทั้งทางด้าน วิชาการ ความฉลาดรอบรู้ในเหตุและผล ทางด้านคุณธรรม จริยธรรม และทางด้านพลานามัย  (ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2525  ครู นั้น สังคมยกย่องนับถือว่าเป็นปูชนียบุคคล ทั้งนี้เพราะว่าครูเป็นผู้เสียสละ ยึดมั่นในคุณงามความดี และความถูกต้อง จึงขอให้รักษาความดีนี้ตลอดไป (ดร.เกษม ศิริสัมพันธ)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2526   อนาคตของเด็กไทย อยู่ที่ความเอาใจใส่ของครูทุกคน (ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2527   ใน วาระดิถีขึ้นปีใหม่ 2527 ผมขอให้เพื่อนครูที่รักทั้งหลายและสมาชิกคุรุสภาทุกท่าน ประสบความสุขสิริสวัสดิ์พิพัฒน์มงคล สัมฤทธิ์ผลอันพึงปรารถนาตลอด (นายชวน หลีกภัย)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2528  การ ที่บุคคลหนึ่งจะดำรงชีวิตได้อย่างดีนั้นมิใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะผู้เป็นครูมีแนวปฏิบัติที่ยากยิ่ง เป็นสิ่งน่าเห็นใจที่ครูจะต้องปฏิบัติโดยยึดถือความดีมีคุณธรรมระดับสูงกว่า บุคคลทั่วไป แต่ก็น่าภาคภูมิใจเมื่อครูผู้ปฏิบัตินั้น ได้รับความเชื่อถือ ศรัทธา และยอมรับจากสังคมมากขึ้น จึงขอให้เพื่อนครู ทุกท่านปฏิบัติตนด้วยความเสียสละ อดทน ยึดถือความดี มีคุณธรรมเพื่อจะบังเกิด ผลดีแก่ตนเอง ชุมชน และประเทศชาติสืบไป (นายชวน หลีกภัย)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2529    ครูคือผู้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณค่าต่อการพัฒนาชาติให้ก้าวหน้า และอยู่รอดปลอดภัย (นายชวน หลีกภัย)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2530    ครูดีมีวินัย และคุณธรรม ย่อมน้อมให้เยาวชนเป็นพลเมืองดี (นายมารุต บุญนาค)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2531   ครูเป็นผู้สร้าง ครูเป็นผู้ให้ความหวัง ครูเป็นพลังให้ศิษย์เป็นคนดี (นายมารุต บุญนาค)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2532  ครูดี มีจรรยา มุ่งค้นคว้าเพื่อพัฒนาเด็กไทย (พลเอกมานะ รัตนโกเศศ)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2533   ครูคือผู้อุทิศทั้งชีวิตและจิตใจ ส่งเสริมเพิ่มพูนให้เยาวชนเป็นคนดี (พลเอกมานะ รัตนโกเศศ)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2534   ครูคือผู้สร้างสรรค์ให้เยาวชนของชาติเป็นพลเมืองดี (พลเอกมานะ รัตนโกเศศ)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2535  ครูคือ ผู้ให้ ผู้สร้าง ผู้พัฒนา และผู้นำเยาวชนของชาติ (ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2536   ครูคือนักพัฒนา และรักษาสิ่งแวดล้อม (นายสัมพันธ์ ทองสมัคร)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2537   ครูคือ ผู้มีคุณธรรม ชี้นำประชาธิปไตย สร้างเด็กไทยให้เป็นคนดี (นายสัมพันธ์ ทองสมัคร)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2538  อุทิศเวลา รักษาคุณธรรม ชี้นำประชาธิปไตย สร้างเด็กไทยให้เป็นคนดี (นายสัมพันธ์ ทองสมัคร)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2539  ครู เป็นหัวใจของการพัฒนาคน (นายสุขวิช รังสิตพล)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2540  ครูสร้างศิษย์ ด้วยมิตรและนำใจ ครูคือผู้ให้ เพื่อเยาวชนไทยได้พัฒนา (นายสุขวิช รังสิตพล)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2541 ครูเป็นผู้นำทางปัญญา ชี้นำประชาธิปไตย สร้างเด็กไทยให้เป็นคนดี (นายชุมพล ศิลปอาชา)

คำขวัญวันครู พ.ศ.2542  ครูเป็นผู้เบิกทางแห่งปัญญา เจ้าของคำขวัญ นายปัญจะ เกสรทอง ครูชี้ทางสร้างสรรค์ภูมิปัญญา ชนเชิดบูชาพระคุณครู (นางเซียมเกียว แซ่เล้า)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2543  ครูต้องมีจิตวิญญาณของความเป็นครู และประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี เจ้าของคำขวัญ นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล สร้างชาติ สร้างคน ผลงานของครู ทั่วโลกรับรู้ เชิดชูบูชา (นายประจักษ์ เสตเตมิ)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2544  พระคุณครูยิ่งใหญ่ สร้างไทยให้พัฒนา ขอบูชาคุณครู (นางสาวสุทิสา ธนบดีไพบูลย์)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2545  สร้างคนสร้างชาติ สร้างศาสตร์ก้าวหน้า สร้างภูมิปัญญา ขอบูชาครู  (นายสุเทพ วิเศษศักดิ์ศรี)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2546   ครูให้ความรู้ ควบคู่จรรยา ปวงชนทั่วหล้า น้อมบูชาครู (นางสมปอง สายจันทร์)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2547  ครูคือพลังสร้างแผ่นดิน ไทยทุกถิ่นน้อมบูชาพระคุณครู  (นางสาวพรทิพย์ ศุภกา)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2548   ครูสร้างคนสร้างชาติด้วยศาสตร์ศิลป์ ทั่วแผ่นดินศรัทธาบูชาครู (นายประจักษ์ หัวใจเพชร)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2549  ครูดีเป็นศรีแผ่นดิน ศิษย์ทั่วถิ่นศรัทธาบูชาครู (นางพรรณา คงสง)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2550   สิบหกมกรา เทิดทูน พ่อแผ่นดิน ภูมินทร์บรมครู (นางสาวศันสนีย์ แสนโรจน์)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2551  ครูของแผ่นดินเลิศศิลป์ศาสตร์ มหาราชภูมิพลฯ ชนบูชา (นางพงษ์จันทร์ สุขเกษม)

คำขวัญวันครู พ.ศ.2552  ครูสร้างคนดี เป็นศรีแผ่นดิน ทั่วถิ่นศรัทธา บูชาคุณครู (นางนฤมล จันทะรัตน์)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2553  น้อมจิตวันทา บูชาคุณครู กตัญญูกตเวที (นายกันทา วงศ์จันทร์ทิพย์)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2554   เทิดพระเกียรติทั่วหล้า บูชาครูของแผ่นดิน ภูมินทร์ภูมิพล (นางกนกอร ภูนาสูง)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2555   บูชาครูแห่งแผ่นดิน จอมปราชญ์ศาสตร์ศิลป์ สยามินทร์ ภูมิพล (นางสาวขนิษฐา อุตรโส จาก จังหวัดนครปฐม)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2556   แปดสิบพรรษา  พระราชินี  ราษฎร์รัฐภักดี ครูศรีแผ่นดิน  (นายสะอาด  สีหภาค  จาก จังหวัดศรีสะเกษ)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2557  เทิดพระเกียรติทั่วหล้า กตัญญูบูชา แม่และครูแห่งแผ่นดิน

คำขวัญวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2557

คำขวัญวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2557

         คำขวัญวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2557  ที่นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร   นายกรัฐมนตรีให้ไว้เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ  ประจำปี พ.ศ. 2557  ความว่า   “กตัญญู  รู้หน้าที่  เป็นเด็กดี  มีวินัย  สร้างไทย  ให้มั่นคง”   ซึ่งเป็นลายมือของท่านนายกรัฐมนตรี  ขอนำมาฝากเด็ก ๆ ที่มาศึกษาเรียนรู้ที่บล็อกการศึกษา  “เรียนภาษาไทยน่ารู้กับครูปิยะฤกษ์”  ครับ   ขอให้เด็ก ๆ ทุกคนได้นำข้อความในคำขวัญที่ท่านนายกรัฐมนตรีได้มอบให้ไปเป็นหลักในการปฏิบัติตนโดยกาย  วาจา  และใจให้พร้อมเพื่อความเจริญผาสุกในประเทศไทยของเรา นะครับ

คำขวัญวันเด็ก 2557คำขวัญวันเด็กแห่งชาติจากอดีตถึงปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2557

  • ปี พ.ศ. 2557 – ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร   “กตัญญู  รู้หน้าที่  เป็นเด็กดี  มีวินัย  สร้างไทย  ให้มั่นคง”
  • ปี พ.ศ. 2556 – ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร   “รักษาวินัย  ใฝ่เรียนรู้  เพิ่มพูนปัญญา  นำพาไทยสู่อาเซียน”
  • ปี พ.ศ. 2555 – อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ   “สามัคคี มีความรู้ คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี”
  • ปี พ.ศ. 2554 – อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  “รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ”
  • ปี พ.ศ. 2553 – อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ   “คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม”
  • ปี พ.ศ. 2552 – อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ    “ฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคคี”
  • ปี พ.ศ. 2551 – พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์   “สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม”
  • ปี พ.ศ. 2550 – พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์   “มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข”
  • ปี พ.ศ. 2549  – พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร   “อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด”
  • ปี พ.ศ. 2548 – พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร   “เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด”
  • ปี พ.ศ. 2547 – พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร   “รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดีๆ อนาคตดีแน่นอน”
  • ปี พ.ศ. 2546 – พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร  “เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี”
  • ปี พ.ศ. 2545 – พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร   “เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส”
  • ปี พ.ศ. 2544 – นายชวน หลีกภัย  “มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย”
  • ปี พ.ศ. 2543 – นายชวน หลีกภัย  “มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย”
  • ปี พ.ศ. 2542 นายชวน หลีกภัย   “ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย”
  • ปี พ.ศ. 2541 – นายชวน หลีกภัย   “ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย”
  • ปี พ.ศ. 2540 – พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ   “รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด”
  • ปี พ.ศ. 2539 – นายบรรหาร ศิลปอาชา   “มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด”
  • ปี พ.ศ. 2538 – นายชวน หลีกภัย   “สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม”
  • ปี พ.ศ. 2537 – นายชวน หลีกภัย   “ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม”
  • ปี พ.ศ. 2536 – นายชวน หลีกภัย    “ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม”
  • ปี พ.ศ. 2535 – นายอานันท์ ปันยารชุน  – สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม
  • ปี พ.ศ. 2534 – พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ – รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา
  • ปี พ.ศ. 2533 – พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ – รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
  • ปี พ.ศ. 2532 – พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ – รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
  • ปี พ.ศ. 2531 – พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ – นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
  • ปี พ.ศ. 2530 – พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ – นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
  • ปี พ.ศ. 2529 – พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ – นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
  • ปี พ.ศ. 2528 – พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ – สามัคคี นิยมไทย มีวินัย ใฝ่คุณธรรม
  • ปี พ.ศ. 2527 – พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ – รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดีมีความคิด สุจริตใจมั่น หมั่นศึกษา
  • ปี พ.ศ. 2526 – พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ – รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัยและคุณธรรม
  • ปี พ.ศ. 2525 – พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ – ขยันศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
  • ปี พ.ศ. 2524 – พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ – เด็กไทยมีวินัย ใจสัตย์ซื่อ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม
  • ปี พ.ศ. 2523 – พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ – อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
  • ปี พ.ศ. 2522 – พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ – เด็กไทยคือหัวใจของชาติ
  • ปี พ.ศ. 2521 – พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ – เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
  • ปี พ.ศ. 2520 – นายธานินทร์ กรัยวิเชียร – รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย
  • ปี พ.ศ. 2519 – หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช – เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดี มีวินัย เสียแต่บัดนี้
  • ปี พ.ศ. 2518 – นายสัญญา ธรรมศักดิ์ – เด็กดีคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความสามัคคี
  • ปี พ.ศ. 2517 – นายสัญญา ธรรมศักดิ์ – สามัคคีคือพลัง
  • ปี พ.ศ. 2516 – จอมพล ถนอม กิตติขจร – เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
  • ปี พ.ศ. 2515 – จอมพล ถนอม กิตติขจร – เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ
  • ปี พ.ศ. 2514 – จอมพล ถนอม กิตติขจร – ยามเด็กจงหมั่นเรียน เพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ
  • ปี พ.ศ. 2513 – จอมพล ถนอม กิตติขจร – เด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส
  • ปี พ.ศ. 2512 – จอมพล ถนอม กิตติขจร – รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ
  • ปี พ.ศ. 2511 – จอมพล ถนอม กิตติขจร – ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย เฉลียวฉลาดและรักชาติยิ่ง
  • ปี พ.ศ. 2510 – จอมพล ถนอม กิตติขจร – อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรงดีมีความประพฤติเรียบร้อย
  • ปี พ.ศ. 2509 – จอมพล ถนอม กิตติขจร – เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะ บากบั่น และสมานสามัคคี
  • ปี พ.ศ. 2508 – จอมพล ถนอม กิตติขจร – เด็กจะเจริญต้องรักเรียนเพียรทำดี
  • ปี พ.ศ. 2507 – งดการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ
  • ปี พ.ศ. 2506 – จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ –  ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด
  • ปี พ.ศ. 2505 – จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ –  ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด
  • ปี พ.ศ. 2504 – จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ –  ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย
  • ปี พ.ศ. 2503 – จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ –  ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความสะอาด
  • ปี พ.ศ. 2502 – จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ – ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า
  • ปี พ.ศ.2499 – จอมพล ป.พิบูลสงคราม – จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม

k คืออะไรเมื่อมีข้อมูลแสดงที่บล็อกการศึกษาออนไลน์ “เรียนภาษาไทยน่ารู้กับครูปิยะฤกษ์”

k  คืออะไรเมื่อมีข้อมูลแสดงที่บล็อกการศึกษาออนไลน์ “เรียนภาษาไทยน่ารู้กับครูปิยะฤกษ์”

            ครูปิยะฤกษ์  ได้เขียนเรื่องต่าง ๆ  เพื่อเผยแพร่สู่สังคมการศึกษาออนไลน์ในบล็อกที่ชื่อ “เรียนภาษาไทยน่ารู้กับครูปิยะฤกษ์”  (คือบล็อกแห่งนี้)  ได้ส่งเสริมให้นักเรียนได้เข้าไปอ่าน  ถ้ามีประโยชน์ก็ให้ร่วมกันแชร์  ได้รับความร่วมมือจากนักเรียนที่เรียนกับครูปิยะฤกษ์เป็นอย่างดี  ไม่เพียงแต่นักเรียนที่โรงเรียน  ผู้เรียนจากโลกออนไลน์ที่ผ่านมาพบและได้อ่านต่างก็ช่วยแชร์เช่นกันทั้งไทยและเทศทั่วทุกมุมโลก  ขอขอบคุณทุก ๆ ท่านมา ณ โอกาสนี้ด้วยนะครับ

            ข้อมูลแสดงการแชร์เริ่มต้นด้วยเลข 1,  2,  3…   มาวันนี้เป็นเลข  1k+  ก็เลยดูผ่าน ๆ ไม่มีค่าอะไรมากมาย  แต่เมื่อพิจารณาดูให้ดี ๆ  มันมีค่ามากสำหรับกำลังใจที่ให้เกียรติการมาเยี่ยมชมด้วยช่องทางการสื่อสารทางโลกออนไลน์  ครับ

เรามาเริ่มทำความรู้จักกับ  ก่อน   

K คือตัวย่อในการแสดงผลทางคอมพิวเตอร์   มีค่าทางหลักสถิติว่า

            k  คือ kilo (หมายถึง 1000)
เช่น  kg = มาจาก k (กิโล) และ g (กรัม)  เป็น กิโลกรัม นั่นหมายถึง  1000 กรัม  (1 kg)
หรือ  km  มาจาก k (กิโล) และ m (เมตร)  เป็น กิโลเมตร นั่นหมายถึง  1000 เมตร  (1 km)

อีกทั้งมีการบอกค่าไว้ ดังนี้

            1k = 1,000
            10k = 10,000
            100k = 100,000
            1000k = 1,000,000  (ซึ่งพอถึงค่านี้ จะนับเป็น M กันแล้ว เช่น 1M = 1ล้าน  มาจากคำว่า mega  หมายถึง 10 แล้วยกกำลัง6  มีค่าเท่ากับ 1,000,000  

             ทั้งนี้  ในบล็อกการศึกษาออนไลน์ “เรียนภาษาไทยน่ารู้กับครูปิยะฤกษ์”  แห่งนี้มีผู้เข้าชมโดยนับจากธงชาติประเทศของผู้มาเข้าชม  โดยเฉพาะประเทศไทยตอนนี้ก็มีจำนวน 1.60M  แล้วครับ ก็คือเอา 1 ล้านมาคูณนั่นเอง)

ดังตัวอย่าง 

             1)  เรื่องที่ครูปิยะฤกษ์เขียนในบล็อก “เรียนภาษาไทยน่ารู้กับครูปิยะฤกษ์”  เรื่อง “ฝันสลายหากท้องในวัยเรียน”   พบว่ามีผู้ร่วมอ่านและแชร์ทาง facebook ซึ่งเกิดสัญลักษณ์ 1k+   ตามภาพ  ค่า  1k+  จึงหมายถึง  มีค่ามากกว่า 1,000

k คือ2

              2)  เรื่องที่ครูปิยะฤกษ์แชร์ใน SlideShare และร่วมแสดงสาระผ่านบล็อก “เรียนภาษาไทยน่ารู้กับครูปิยะฤกษ์”  หลายเรื่อง   พบว่ามีผู้มาอ่านเนื้อหาจากโลกออนไลน์นี้  ซึ่งเกิดสัญลักษณ์ 318K+   ตามภาพ  ค่า  318K + 6K  นี่ ก็หมายถึง  เดิมมีผู้มาอ่าน/ดูแล้ว จำนวน  318,000 ครั้ง  และมีผู้ที่มาอ่าน/ดูใหม่ จำนวน 6,000 ครั้ง นั่นเองครับ

k คือ

               3)  ทุกเรื่องที่ครูปิยะฤกษ์ได้เขียนลงในบล็อก “เรียนภาษาไทยน่ารู้กับครูปิยะฤกษ์”  พบว่ามีผู้มาอ่านเนื้อหาจากโลกออนไลน์ ดูจากสถิติ   Flag visitor to this blog KPB  ซึ่งเกิดสัญลักษณ์เฉพาะธงชาติไทย   1.60M   ตามภาพ  ค่า  1.60M   นี่ ก็หมายถึง  มีหมายเลข IP ที่ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตที่มาเยี่ยมชม/ดูแล้ว จำนวน  1,600,000  เลขหมาย IP  นั่นเองครับ

k คือ3

             ท้ายนี้ขอขอบคุณทุกท่านที่มาเยี่ยมชมบล็อกเรียนภาษาไทยน่ารู้กับครูปิยะฤกษ์อย่างต่อเนื่อง  ทำให้สถิติการเข้าชมมีค่ามากขึ้นตามลำดับอันส่งผลต่อกำลังใจในการร่วมคิด ร่วมสร้าง และแบ่งปันสู่โลกการศึกษาออนไลน์แห่งนี้   ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอัตภาพที่บล็อกเล็ก ๆ แห่งนี้จะทำได้นะครับ

ปิยะฤกษ์  บุญโกศล

15 พฤศจิกายน 2556

ความคืบหน้าพจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554

              นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ซึ่งมี ศ.พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต เป็นประธานคณะกรรมการชำระพจนานุกรม จัดพิมพ์เรียบร้อยแล้วจำนวน 100,000 เล่ม โดยมีเพิ่มเติมศัพท์ใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และศัพท์เฉพาะสาขาวิชาเพื่อแจกจ่ายสถาบันการศึกษาในทุกระดับชั้น สถาบันศาสนา หน่วยราชการ ตลอดจนคณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เจ้าหน้าที่ของรัฐและสื่อมวลชน ส่วนประชาชนทั่วไปจะสามารถหาซื้อได้ในช่วงเดือนธันวาคมนี้ ทั้งนี้ กำลังเตรียมให้เอกชนเข้ามาใช้สิทธิในการจัดพิมพ์จำนวน 50,000 เล่ม และระหว่างนี้สามารถสืบค้นคำจากพจนานุกรมฉบับนี้ได้จากเว็บไซต์ของราช บัณฑิตยสถาน
               นอกจากนี้ นายสันติยังกล่าวทิ้งท้ายถึงแนวทางการใช้ภาษาไทยว่า ต้องการให้ราชบัณฑิตพัฒนาโครงสร้างภาษาไทยให้ก้าวทันยุคโลกาภิวัตน์ ที่ใช้ภาษากันในหลายหลายรูปแบบ รวมถึงประชาชนทุกคนที่จะมีส่วนช่วยส่งเสริมและเผยแพร่การใช้ภาษาไทยที่ดี ควบคู่กับภาษาอื่นๆ เพื่อเตรียมพร้อมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

ที่มา :  ประชาชาติธุรกิจ  วันที่ 26 ก.ค. 2556

 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานเล่มใหม่เสร็จแล้ว

          วันนี้ (26 ก.ค.) ที่ราชบัณฑิตยสถาน สนามเสือป่า นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการแถลงข่าว เรื่องการแจกจ่ายพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระ ชนมพรรษา 7 รอบ 5  ธันวาคม 2554 ว่า สืบเนื่องจากภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติของประเทศไทย และเป็นภาษาที่คนไทยทั้งประเทศมีความภาคภูมิใจ และภาษาไทยมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องรวบรวมและจัดเป็นหมวดหมู่รูปเล่มของพจนานุกรม เพราะภาษาไทยใช้กันหลากหลายทั้งในชีวิตประจำวัน  หรือด้านวิชาการ ซึ่งแต่ละแบบมีการพูดที่แตกต่างกันออกไป แต่ความหมายเหมือนกัน

          นายสันติ กล่าวต่อไปว่า พจนานุกรม ฉบับนี้นอกจากมีความทันสมัยมากที่สุดแล้ว ยังมีนัยยะสำคัญ เนื่องจากเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทางราชบัณฑิตยสถานได้นำขึ้นทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ผู้ใช้ และจะแจกจ่ายไปให้องค์กรสถาบันการศึกษา และหน่วยงานของรัฐ ประมาณ 85,000 แห่ง ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษา  มัธยมศึกษา สถาบันอุดมศึกษา ส่วนราชการองค์กรต่างๆ ตลอดจนสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี โดยจัดพิมพ์ทั้งสิ้น 100,000 เล่ม

          “รัฐบาลให้ความสำคัญเรื่องของภาษา จึงได้จัดงบประมาณ 40 ล้านบาท เพื่อจัดทำพจนานุกรมฉบับนี้ และหลังจากแจกจ่ายไปยังหน่วยงานต่างๆ แล้ว ทางราชบัณฑิตยสถานจะมอบให้เอกชนไปจัดพิมพ์เพื่อจำหน่าย หรือแจกจ่ายเพิ่มเติมอีกประมาณ 50,000 เล่ม คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนธันวาคม ทั้งนี้จะมีการนำข้อมูลพจนานุกรมทั้งหมดขึ้นเว็บไซต์ราชบัณฑิตยสถาน http://www.royin.go.th และจะมีการพัฒนาและเผยแพร่ ผ่านแอพพลิเคชันของสมาร์ตโฟนต่างๆด้วย เพื่อส่งเสริมให้คนไทยได้ใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพราะก่อนที่เราจะไปเรียนภาษาที่ 2 อย่างภาษาอังกฤษหรือภาษาอาเซียน ก็ควรสร้างภูมิคุ้มกันในการใช้ภาษาไทยให้เข้มแข็งก่อน

          น.ส.สุปัญญา ชมจินดา โฆษกราชบัณฑิตยสถาน กล่าวว่า พจนานุกรมฉบับนี้มีความแตกต่างจากพจนานุกรมฉบับอื่นๆ ตรงที่มีการรวบรวมคำศัพท์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้ เช่น ธนาคารโค หรือแก้มลิง เป็นต้น อีกทั้งพจนานุกรมฉบับนี้จะเบากว่าทุกฉบับ เพราะมีการใช้กระดาษที่มีความทึบแสง เบา เช่นเดียวกับพจนานุกรมในต่างประเทศ  และมีการจัดวางรูปเล่มสวยงาม ทำให้พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554  ดูมีความเป็นสากลมากขึ้น

          ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 มีการรวบรวมคำศัพท์ไว้ประมาณ 39,000 คำ ซึ่งเพิ่มจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ที่มีคำศัพท์อยู่ประมาณ 37,000 คำ

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์.  26 กรกฎาคม 2556.  http://www.dailynews.co.th/education/221836

 

ภาระงานนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔  และ  ๖

      จากการอ่านข้อความจากข่าวที่ปรากฏนี้   จงตอบคำถามต่อไปนี้

      ๑)  ข้อความจากข่าวทั้ง ๒ แหล่งที่มา  มีเนื้อหาที่แตกต่างกันอย่างไร จงอภิปราย

      ๒)  ข้อความที่อ่านทั้งหมดให้ประโยชน์ต่อตัวนักเรียน ณ ปัจจุบันหรืออนาคตอย่างไร 

ตอบลงในกระดาษรายงานหรือกระดาษ A๔  เขียนด้วยลายมือตนเองและให้อ่านง่าย  ส่งต่อครูปิยะฤกษ์  ภายในวันศุกร์ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๖  ครับ

คำขวัญวันครู ประจำปี 2556

คำขวัญวันครู ประจำปี 2556

     ปีนี้วันที่ 16 มกราคม 2556 ถือว่าเป็นวันครู ครั้งที่ 57  แล้วนะครับ  คุรุสภาได้การประกวดให้ทุกภาคส่วนร่วมส่งคำขวัญวันครู  ประจำปี 2556  เข้าประกวด  ผลการตัดสินของคุรุสภาเรียบร้อยแล้ว   ปรากฏผลดังนี้

คำขวัญวันครู  ประจำปี 2556 “แปดสิบพรรษา  พระราชินี  ราษฎร์รัฐภักดี ครูศรีแผ่นดิน” ของนายสะอาด  สีหภาค  จาก จังหวัดศรีสะเกษ   

ที่มา/ขอขอบคุณ : http://www.ksp.or.th/

            การจัดงานวันครู มีครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2500 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499

           คำขวัญวันครูนั้นเดิมเป็นคำขวัญ จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา  ต่อมาก็เป็นคำขวัญของบุคคลทั่วไปที่ส่งเข้าร่วมประกวด 

รวมคำขวัญวันครูจากอดีตถึงปัจจุบัน  (พ.ศ.2522-พ.ศ.2556)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2522   การให้การศึกษาแก่คนในชาติ เป็นกระบวนการที่ต้องทำต่อเนื่องกันไปตลอดชีวิต ดังนั้นจึงต้องระดมสรรพกำลังหลาย ๆ ด้านมาช่วยเหลือการศึกษา ปัจจัยที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะขาดเสียมิได้ก็คือ ครูซึ่งจะเป็นผู้ผลักดันให้ทุกอย่างไปสู่เป้าหมายได้ ฉะนั้นท่านทั้งหลายคงตระหนักถึงหน้าที่อันมีเกียรตินี้ ในโอกาสที่วันสำคัญอย่างยิ่งของครูได้เวียนมาบรรจบครบรอบอีกวาระหนึ่ง ข้าพเจ้าในนามของกระทรวงศึกษาธิการและประธานอำนวยการคุรุสภา ขอส่งความปรารถนาดีและความระลึกถึงเพื่อนครูทุกท่าน ทั้งนอกและในราชการขอจงประสบแต่ความสุขความเจริญโดยทั่วกันและขอได้โปรด ตระหนักถึงหน้าที่ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีของครูที่ดีสืบไป  (นายแพทย์บุญสม มาร์ติน)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2523   เป็นครูต้องยึดถือคุณธรรมของครู  (ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2524  ครูที่แท้ต้องทำแต่ความดี ประพฤติปฏิบัติในระเบียบแบบแผนอันสมควรกับเกียรติภูมิของตน มีความรักในลูกศิษย์และอบรมปัญญาให้ลูกศิษย์มีความสมบูรณ์ทั้งทางด้าน วิชาการ ความฉลาดรอบรู้ในเหตุและผล ทางด้านคุณธรรม จริยธรรม และทางด้านพลานามัย  (ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2525  ครู นั้น สังคมยกย่องนับถือว่าเป็นปูชนียบุคคล ทั้งนี้เพราะว่าครูเป็นผู้เสียสละ ยึดมั่นในคุณงามความดี และความถูกต้อง จึงขอให้รักษาความดีนี้ตลอดไป (ดร.เกษม ศิริสัมพันธ)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2526   อนาคตของเด็กไทย อยู่ที่ความเอาใจใส่ของครูทุกคน (ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2527   ใน วาระดิถีขึ้นปีใหม่ 2527 ผมขอให้เพื่อนครูที่รักทั้งหลายและสมาชิกคุรุสภาทุกท่าน ประสบความสุขสิริสวัสดิ์พิพัฒน์มงคล สัมฤทธิ์ผลอันพึงปรารถนาตลอด (นายชวน หลีกภัย)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2528  การ ที่บุคคลหนึ่งจะดำรงชีวิตได้อย่างดีนั้นมิใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะผู้เป็นครูมีแนวปฏิบัติที่ยากยิ่ง เป็นสิ่งน่าเห็นใจที่ครูจะต้องปฏิบัติโดยยึดถือความดีมีคุณธรรมระดับสูงกว่า บุคคลทั่วไป แต่ก็น่าภาคภูมิใจเมื่อครูผู้ปฏิบัตินั้น ได้รับความเชื่อถือ ศรัทธา และยอมรับจากสังคมมากขึ้น จึงขอให้เพื่อนครู ทุกท่านปฏิบัติตนด้วยความเสียสละ อดทน ยึดถือความดี มีคุณธรรมเพื่อจะบังเกิด ผลดีแก่ตนเอง ชุมชน และประเทศชาติสืบไป (นายชวน หลีกภัย)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2529    ครูคือผู้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณค่าต่อการพัฒนาชาติให้ก้าวหน้า และอยู่รอดปลอดภัย (นายชวน หลีกภัย)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2530    ครูดีมีวินัย และคุณธรรม ย่อมน้อมให้เยาวชนเป็นพลเมืองดี (นายมารุต บุญนาค)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2531   ครูเป็นผู้สร้าง ครูเป็นผู้ให้ความหวัง ครูเป็นพลังให้ศิษย์เป็นคนดี (นายมารุต บุญนาค)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2532  ครูดี มีจรรยา มุ่งค้นคว้าเพื่อพัฒนาเด็กไทย (พลเอกมานะ รัตนโกเศศ)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2533   ครูคือผู้อุทิศทั้งชีวิตและจิตใจ ส่งเสริมเพิ่มพูนให้เยาวชนเป็นคนดี (พลเอกมานะ รัตนโกเศศ)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2534   ครูคือผู้สร้างสรรค์ให้เยาวชนของชาติเป็นพลเมืองดี (พลเอกมานะ รัตนโกเศศ)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2535  ครูคือ ผู้ให้ ผู้สร้าง ผู้พัฒนา และผู้นำเยาวชนของชาติ (ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2536   ครูคือนักพัฒนา และรักษาสิ่งแวดล้อม (นายสัมพันธ์ ทองสมัคร)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2537   ครูคือ ผู้มีคุณธรรม ชี้นำประชาธิปไตย สร้างเด็กไทยให้เป็นคนดี (นายสัมพันธ์ ทองสมัคร)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2538  อุทิศเวลา รักษาคุณธรรม ชี้นำประชาธิปไตย สร้างเด็กไทยให้เป็นคนดี (นายสัมพันธ์ ทองสมัคร)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2539  ครู เป็นหัวใจของการพัฒนาคน (นายสุขวิช รังสิตพล)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2540  ครูสร้างศิษย์ ด้วยมิตรและนำใจ ครูคือผู้ให้ เพื่อเยาวชนไทยได้พัฒนา (นายสุขวิช รังสิตพล)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2541 ครูเป็นผู้นำทางปัญญา ชี้นำประชาธิปไตย สร้างเด็กไทยให้เป็นคนดี (นายชุมพล ศิลปอาชา)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2542  ครูเป็นผู้เบิกทางแห่งปัญญา เจ้าของคำขวัญ นายปัญจะ เกสรทอง ครูชี้ทางสร้างสรรค์ภูมิปัญญา ชนเชิดบูชาพระคุณครู (นางเซียมเกียว แซ่เล้า)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2543  ครูต้องมีจิตวิญญาณของความเป็นครู และประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี เจ้าของคำขวัญ นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล สร้างชาติ สร้างคน ผลงานของครู ทั่วโลกรับรู้ เชิดชูบูชา (นายประจักษ์ เสตเตมิ)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2544  พระคุณครูยิ่งใหญ่ สร้างไทยให้พัฒนา ขอบูชาคุณครู (นางสาวสุทิสา ธนบดีไพบูลย์)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2545  สร้างคนสร้างชาติ สร้างศาสตร์ก้าวหน้า สร้างภูมิปัญญา ขอบูชาครู  (นายสุเทพ วิเศษศักดิ์ศรี)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2546   ครูให้ความรู้ ควบคู่จรรยา ปวงชนทั่วหล้า น้อมบูชาครู (นางสมปอง สายจันทร์)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2547  ครูคือพลังสร้างแผ่นดิน ไทยทุกถิ่นน้อมบูชาพระคุณครู  (นางสาวพรทิพย์ ศุภกา)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2548   ครูสร้างคนสร้างชาติด้วยศาสตร์ศิลป์ ทั่วแผ่นดินศรัทธาบูชาครู (นายประจักษ์ หัวใจเพชร)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2549  ครูดีเป็นศรีแผ่นดิน ศิษย์ทั่วถิ่นศรัทธาบูชาครู (นางพรรณา คงสง)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2550   สิบหกมกรา เทิดทูน พ่อแผ่นดิน ภูมินทร์บรมครู (นางสาวศันสนีย์ แสนโรจน์)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2551  ครูของแผ่นดินเลิศศิลป์ศาสตร์ มหาราชภูมิพลฯ ชนบูชา (นางพงษ์จันทร์ สุขเกษม)

คำขวัญวันครู พ.ศ.2552  ครูสร้างคนดี เป็นศรีแผ่นดิน ทั่วถิ่นศรัทธา บูชาคุณครู (นางนฤมล จันทะรัตน์)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2553  น้อมจิตวันทา บูชาคุณครู กตัญญูกตเวที (นายกันทา วงศ์จันทร์ทิพย์)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2554   เทิดพระเกียรติทั่วหล้า บูชาครูของแผ่นดิน ภูมินทร์ภูมิพล (นางกนกอร ภูนาสูง)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2555   บูชาครูแห่งแผ่นดิน จอมปราชญ์ศาสตร์ศิลป์ สยามินทร์ ภูมิพล (นางสาวขนิษฐา อุตรโส จาก จังหวัดนครปฐม)

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2556   แปดสิบพรรษา  พระราชินี  ราษฎร์รัฐภักดี ครูศรีแผ่นดิน  (นายสะอาด  สีหภาค  จาก จังหวัดศรีสะเกษ)

คำขวัญวันเด็ก ประจำปี 2556

คำขวัญวันเด็ก ประจำปี 2556

        คำขวัญวันเด็ก ประจำปี 2556 ที่นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร   นายกรัฐมนตรีให้ไว้เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ  ประจำปี พ.ศ. 2556 ความว่า  “รักษาวินัย  ใฝ่เรียนรู้  เพิ่มพูนปัญญา  นำพาไทยสู่อาเซียน”  ซึ่งเป็นลายมือของท่านนายก นำมาฝากเด็ก ๆ ครับ

คำขวัญวันเด็ก ปี 2556

ที่มาของภาพ : http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=30794&Key=news18

คำขวัญวันเด็กแห่งชาติจากอดีตถึงปัจจุบัน

  • ปี พ.ศ. 2556 ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร   “รักษาวินัย  ใฝ่เรียนรู้  เพิ่มพูนปัญญา  นำพาไทยสู่อาเซียน”

  • ปี พ.ศ. 2555 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ   “สามัคคี มีความรู้ คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี”

  • ปี พ.ศ. 2554 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ

  • ปี พ.ศ. 2553 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ   คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม

  • ปี พ.ศ. 2552 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคคี

  • ปี พ.ศ. 2551 พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม

  • ปี พ.ศ. 2550 พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข

  • ปี พ.ศ. 2549  พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร  อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด

  • ปี พ.ศ. 2548 พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร  เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด

  • ปี พ.ศ. 2547 พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร  รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดีๆ อนาคตดีแน่นอน

  • ปี พ.ศ. 2546 พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี

  • ปี พ.ศ. 2545 พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส

  • ปี พ.ศ. 2544 นายชวน หลีกภัย มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย

  • ปี พ.ศ. 2543 นายชวน หลีกภัย มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย

  • ปี พ.ศ. 2542 นายชวน หลีกภัย ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย

  • ปี พ.ศ. 2541 นายชวน หลีกภัย ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย

  • ปี พ.ศ. 2540 พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด

  • ปี พ.ศ. 2539 นายบรรหาร ศิลปอาชา มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด

  • ปี พ.ศ. 2538 นายชวน หลีกภัย สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม

  • ปี พ.ศ. 2537 นายชวน หลีกภัย ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม

  • ปี พ.ศ. 2536 นายชวน หลีกภัย  ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม

  • ปี พ.ศ. 2535 นายอานันท์ ปันยารชุน สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม

  • ปี พ.ศ. 2534 พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา

  • ปี พ.ศ. 2533 พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม

  • ปี พ.ศ. 2532 – พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ – รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม

  • ปี พ.ศ. 2531 – พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ – นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม

  • ปี พ.ศ. 2530 – พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ – นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม

  • ปี พ.ศ. 2529 – พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ – นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม

  • ปี พ.ศ. 2528 – พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ – สามัคคี นิยมไทย มีวินัย ใฝ่คุณธรรม

  • ปี พ.ศ. 2527 – พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ – รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดีมีความคิด สุจริตใจมั่น หมั่นศึกษา

  • ปี พ.ศ. 2526 – พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ – รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัยและคุณธรรม

  • ปี พ.ศ. 2525 – พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ – ขยันศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย

  • ปี พ.ศ. 2524 – พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ – เด็กไทยมีวินัย ใจสัตย์ซื่อ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม

  • ปี พ.ศ. 2523 – พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ – อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย

  • ปี พ.ศ. 2522 – พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ – เด็กไทยคือหัวใจของชาติ

  • ปี พ.ศ. 2521 – พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ – เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ

  • ปี พ.ศ. 2520 – นายธานินทร์ กรัยวิเชียร – รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย

  • ปี พ.ศ. 2519 – หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช – เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดี มีวินัย เสียแต่บัดนี้

  • ปี พ.ศ. 2518 – นายสัญญา ธรรมศักดิ์ – เด็กดีคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความสามัคคี

  • ปี พ.ศ. 2517 – นายสัญญา ธรรมศักดิ์ – สามัคคีคือพลัง

  • ปี พ.ศ. 2516 – จอมพล ถนอม กิตติขจร – เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ

  • ปี พ.ศ. 2515 – จอมพล ถนอม กิตติขจร – เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ

  • ปี พ.ศ. 2514 – จอมพล ถนอม กิตติขจร – ยามเด็กจงหมั่นเรียน เพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ

  • ปี พ.ศ. 2513 – จอมพล ถนอม กิตติขจร – เด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส

  • ปี พ.ศ. 2512 – จอมพล ถนอม กิตติขจร – รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ

  • ปี พ.ศ. 2511 – จอมพล ถนอม กิตติขจร – ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย เฉลียวฉลาดและรักชาติยิ่ง

  • ปี พ.ศ. 2510 – จอมพล ถนอม กิตติขจร – อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรงดีมีความประพฤติเรียบร้อย

  • ปี พ.ศ. 2509 – จอมพล ถนอม กิตติขจร – เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะ บากบั่น และสมานสามัคคี

  • ปี พ.ศ. 2508 – จอมพล ถนอม กิตติขจร – เด็กจะเจริญต้องรักเรียนเพียรทำดี

  • ปี พ.ศ. 2507 – งดการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ

  • ปี พ.ศ. 2506 – จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ –  ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด

  • ปี พ.ศ. 2505 – จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ –  ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด

  • ปี พ.ศ. 2504 – จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ –  ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย

  • ปี พ.ศ. 2503 – จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ –  ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความสะอาด

  • ปี พ.ศ. 2502 – จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ – ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า

  • ปี พ.ศ.2499 – จอมพล ป.พิบูลสงคราม – จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม

สารวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2556

   พระบรมราโชวาท เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ

   พระวรธัมโมวาท เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2556

   สารนายกรัฐมนตรี เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2556

   สารรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2556

   โลโกวันเด็กแห่งชาติ

ใช้ สมโภชน์ หรือ สมโภช จึงจะถูกต้อง

ใช้ สมโภชน์ หรือ สมโภช จึงจะถูกต้อง

         เมื่อวานนี้คุณครูพบเห็นข้อความหนึ่งเขียนว่า   “ขอเชิญทุกท่านร่วมงานทำบุญสมโภชน์พระประธาน  ณ  วัดอัมพวัน”

         ซึ่งการใช้คำ  “สมโภชน์”  นั้นถือว่าผิด  ผิดอย่างไร

          ผิดตรงที่เรามักคุ้นกับรูปคำ  โภชนาการ,  โภชน-  มาเกี่ยวข้องในการเขียนอย่างไรละครับ   แท้ที่จริงแล้วถ้าใช้ให้ถูกต้อง  ต้องเขียนว่า  “ขอเชิญทุกท่านร่วมงานทำบุญสมโภชพระประธาน  ณ  วัดอัมพวัน”   จึงจะมีความหมายที่ถูกต้องตามอักขรภาษาไทย   สมโภช  หมายถึง  การกินร่วม, งานฉลองในพิธีมงคลเพื่อความยินดีร่าเริง  ดังนั้นก่อนเราจะใช้คำควรใช้ให้ถูกต้องนะครับ

วรรณรูป คืออะไร

วรรณรูป คืออะไร

            วรรณรูป  เกิดจากคำว่า  “วรรณ” ซึ่งแปลว่า คำ   และคำว่า  “รูป”  ซึ่งแปลว่า  สิ่งที่รับรู้ด้วยสายตาจากการมองดู   สรุปแล้ว  “วรรณรูป”  หมายถึง  คำที่ทำให้เกิดรูป  หรือรูปที่เกิดจากคำ  หรือ  การนำคำมาสร้างให้เกิดเป็นรูปภาพซึ่งต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ทางภาษาไทยผนวกกับความสามารถทางศิลปะเพื่อให้ผลงานที่ออกมาสะดุดตา  อ่านแล้วรู้สึกประทับใจมีคุณค่า น่าติดตาม

 

               วันที่  ๑๖-๑๗  สิงหาคม  ๒๕๕๕  ที่โรงเรียนจัดกิจกรรมค่ายส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน“ศิลปธรรมนำสู่ความดี” (ตามโครงการโรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ และ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาเข้าค่ายคุณธรรม) ณ  โรงเรียนโพนทันเจริญวิทย์   วิทยากรที่ได้เชิญมาคือ  ท่านเจริญ  กุลสุวรรณ  ได้กรุณาให้ความรู้แก่นักเรียนว่าด้วยการปฏิบัติธรรม  การฝึกจิตให้ตั้งมั่น   ศิลปะในการฝึกปฏิบัติวาดภาพระบายสีเพื่อให้เกิดวรรณรูป  ซึ่งครูปิยะฤกษ์ก็เป็นคนหนึ่งในคณะดำเนินการตามโครงการฯ  ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีความน่าสนใจมาก

             การใช้ศิลปะเพื่อให้เกิดวรรณรูปนั้น  นักเรียนทุกคนแต่ละกลุ่มได้ร่วมกันร่างภาพและระบายสีลงบนผืนผ้าอย่างมีความสุข  สนุกสนาน  มีความสามัคคี  มุ่งมั่น  เพื่อให้ผลงานของกลุ่มออกมาดีที่สุด  เราไปชมผลงานศิลปะ  “การลงสีและให้ความหมายในวรรณรูป”  ของนักเรียนโรงเรียนโพนทันเจริญวิทย์กันเลยครับ   (วรรณรูปลายเส้นทั้งหมดที่คัดลอกลงผืนผ้าเป็นผลงานของท่านเจริญ  กุลสุวรรณ : วิทยากร)

ท่านเจริญ  กุลสุวรรณ : วิทยากรให้การอบรม “ศิลปธรรมนำชีวิต” แก่นักเรียน

เริ่มต้นเรียนรู้ “วรรณรูป”

อ่านเพิ่มเติม

ข้าวเอ๋ยข้าวสุก

ข้าวเอ๋ยข้าวสุก

       ข้าวเอ๋ยข้าวสุก
เราต้องกินทุกบ้านทุกฐานถิ่น
กว่าจะได้ข้าวมาให้เรากิน
ชาวนาสิ้นกำลังเกือบทั้งปี…
ต้องทนแดด ทนฝน ทนลมหนาว
กว่าจะได้ข้าวจากนามาถึงนี่
คนกินข้าวควรจำไว้ให้ดี
ชาวนามีคุณต่อเราไม่เบาเอย..
   ข้าวทุกทุกจานอาหารทุกอย่าง
อย่ากินทิ้งขว้างเป็นของมีค่า
ผู้คนอดอยากมีมากหนักหนา
สงสารบรรดาเด็กตาดำดำ

          วันนี้ที่โรงเรียนจัดกิจกรรมค่ายส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน

“ศิลปธรรมนำสู่ความดี”(ตามโครงการโรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ และ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาเข้าค่ายคุณธรรม)  ๑๖-๑๗  สิงหาคม  ๒๕๕๕ ณ  โรงเรียนโพนทันเจริญวิทย์    ช่วงก่อนรับประทานอาหารให้นักเรียนทุกคนได้กล่าวบทสำนึกถึงบุญคุณของข้าวปลาอาหาร  ซึ่งถ้าสังเกตให้ดีบทกล่าวนี้  ตั้งแต่คำว่า  “ข้าวเอ๋ยข้าวสุก”  ถึงคำว่า  “ไม่เบาเอย”  ก็คือคำประพันธ์ประเภทกลอน ครับ   มีลักษณะบังคับที่เป็น  “กลอนดอกสร้อย”  รวมแล้วมีจำนวน  ๘ วรรค 

   แล้วตั้งแต่คำว่า  “ข้าวทุกจาน…เด็กตาดำดำ”  เป็นคำประพันธ์ประเภทใดล่ะ   คำตอบก็คือ 

          ๑)   สามารถเป็นกลอนก็ได้  คือเป็น “กลอนสี่”  อย่างไรละครับ  เขียนชิดติดกันวรรคละ ๘ คำ เช่นเดียวกัน  แต่เวลาอ่านไม่ใช่อ่านแบบ  ๓  ๒  ๓   แต่อ่านเป็น  ๒/๒  ๒/๒   ไปเรื่อย ๆ ครับ  จึงสมควรแบ่งวรรคใหม่ให้ถูกต้อง  ได้ดังนี้

    ข้าวทุกทุกจาน     อาหารทุกอย่าง
อย่ากินทิ้งขว้าง        เป็นของมีค่า
ผู้คนอดอยาก          มีมากหนักหนา
สงสารบรรดา          เด็กตาดำดำ

          ๒)   สามารถเป็นกาพย์ก็ได้  คือเป็น “กาพย์สุรางคนางค์  ๓๒” 

          ๓)   สามารถเป็นฉันท์ก็ได้  คือเป็น “วิชชุมมาลาฉันท์ ๘” 

โดย  ครูปิยะฤกษ์  บุญโกศล  (๑๖ ส.ค. ๒๕๕๕)

 

อินเทอร์เน็ต หมายถึงอะไร

อินเทอร์เน็ต หมายถึงอะไร

         อินเทอร์เน็ต  ถือว่าเป็นคำไทยที่เป็นคำทับศัพท์  ซึ่งราชบัณฑิตยสถานเป็นหน่วยงานที่กำหนดคำทับศัพท์นี้ โดยให้เขียนในรูปคำ  “อินเทอร์เน็ต”  ซึ่งมาจากคำภาษาอังกฤษว่า  Internet   ดังนั้น  หากเราเขียนเป็น  “อินเตอร์เน็ต” จึงผิดไปจากหลักการเขียนคำไืทยนั่นเองครับ

         อินเทอร์เน็ต  หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาด ใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้

         อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่าย ARPANET (Advanced Research Projects Agency NETwork) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้ถูกพัฒนาให้เป็นเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน

         อ่านเพิ่มเติม

สอบบรรจุครูผู้ช่วย 2555

สอบบรรจุครูผู้ช่วย 2555

          รายชื่อเขตพื้นที่การศึกษาทั้ง สพป.  และ สพม. ที่ประกาศสอบบรรจุครูผู้ช่วย ประจำปี 2555 อย่างเป็นทางการ  สำหรับผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดประกาศ  ใบสมัคร  และศึกษาทำความเข้าใจได้โดยคลิกที่ลิงก์นี้นะครับ

ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่จะสอบบรจจุครูผู้ช่วยขยันอ่านตำราและพบกับข่าวดีมีชัยได้รับการบรรจุโดยเร็ววันกันถ้วนหน้านะครับ

ที่มา  :  http://kroothaiban.blogspot.com/2012/05/blog-post_4911.html

พุทธชยันตี คืออะไร

พุทธชยันตี คืออะไร

ที่มาและความสำคัญพุทธชยันตี

พุทธชยันตี (बुद्ध जयंती, Buddha Jayanti) เป็นชื่อเรียกงานเฉลิมฉลองหรือพิธีบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเนื่องในวาระแห่งการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชาในประเทศไทยนั่นเอง พุทธชยันตีนี้เป็นที่รู้จักกันดีของชาวพุทธนานาชาติอย่างในประเทศศรีลังกา อินเดีย พม่า เป็นต้น โดยเฉพาะในช่วงการเฉลิมฉลอง  พุทธชยันตี ๒๕ พุทธศตวรรษ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐ (ถือกันว่าเป็นกึ่งพุทธกาล) แต่สันนิษฐานว่ามีการเริ่มต้นงานเฉลิมฉลองพุทธชยันตีนี้  ภายหลังจากที่ประเทศศรีลังกา  ได้รับเอกราชจากประเทศอังกฤษในปี พ.ศ.๒๔๙๑ และจากการที่ ดร.อัมเบดการ์ (Dr.Babasaheb Bhimrao Ramji Ambedkar) ได้ฟื้นฟูพุทธสาสนาในประเทศอินเดีย โดยมีการนำชาวอินเดียประมาณ ๒ แสนคนปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธ เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม  พ.ศ. ๒๔๙๙ (อินเดีย ศรีลังกา นับเป็นพ.ศ.๒๕๐๐ เร็วกว่าไทย ๑ ปี) เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองพุทธชยันตี ๒๕ พุทธศตวรรษ นอกจากนี้รัฐบาลประเทศอินเดียยังได้สร้างสวนสาธารณะพุทธชยันตีไว้ที่กรุงนิวเดลีเพื่อเป็นอนุสรณ์สำหรับวาระนี้ด้วย สำหรับรัฐบาลไทย จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้ร่วมเฉลิมฉลองพุทธชยันตี ๒๕ พุทธศตวรรษ ด้วยการสร้างพุทธมณฑลเป็นอนุสรณ์สถาน ประกาศให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ โดยกำหนดให้วันพระหรือวันธรรมสวนะเป็นวันหยุดราชการ  (ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี ฉบับที่ ๙ ลงวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๙๙) และมีการพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาไทยครบชุดฉบับแรก เป็นต้น สำหรับการเฉลิมฉลองในระดับนานาชาตินั้น รัฐบาลพม่าได้เป็นเจ้าภาพในการจัด “ฉัฏฐสังคีติ” คือการสังคายนาพระไตรปิฎกระดับนานาชาติ โดยทางพม่านับเป็นการสังคายนาครั้งที่ ๖ แล้วได้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกบาลีและคัมภีร์ทั้งหลายขึ้นเป็นจำนวนมาก

พุทธชยันตีหมายความว่าอะไร?

       พุทธชยันตี โดยรากศัพท์ของคำว่าชยันตีมาจากคำว่า “ชย” คือชัยชนะ อันหมายถึง  ชัยชนะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อหมู่มารและกิเลสทั้งปวงอย่างสิ้นเชิง อันทำให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้บังเกิดขึ้นในโลก พุทธชยันตีจึงมีความหมายว่าเป็น การตรัสรู้และ การบังเกิดขึ้น ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย ในปัจจุบันพุทธชยันตียังถูกตีความในความหมายถึงชัยชนะของพุทธสาสนาและชาวพุทธด้วย เช่น การได้รับเอกราชและมีสิทธิในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเป็นครั้งแรกของชาวพุทธในประเทศศรีลังกา  การฉลองปีใหม่ชาวพุทธโดยไม่มีเหล้าสุรายาเสพติดสิ่งมึนเมาทั่วทั้งประเทศศรีลังกา  การเอาชนะสิ่งเลวร้ายในสังคมจนทำให้ประเทศศรีลังกามีสถิติอาชญากรรมต่ำมากๆ

            สำหรับวาระสำคัญในปีปัจจุบันเนื่องในมหาธัมมาภิสมัย พุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้นั้น ถ้าถือตามหลักการคำนวณปีพุทธศักราชแบบไทยอยู่ในช่วงระหว่าง วิสาขบูชา  ๒๕๕๔ – วิสาขบูชา ๒๕๕๕ ทั้งนี้ ในวันวิสาขบูชา ๒๕๕๔ ที่ผ่านมานี้ (๑๗ พ.ค.๒๕๕๔) เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ครบ ๒๕๙๙ ปีเต็ม และเริ่มเข้าสู่ปีที่ ๒,๖๐๐ แห่งการตรัสรู้  โดยคำนวณจากการนำปีพุทธศักราชที่เริ่มนับหลังจากการปรินิพพาน บวกด้วย ๔๕ อันเป็นจำนวนพรรษาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ดำเนินพุทธกิจ ภายหลังการตรัสรู้จวบจนเสด็จดับขันธปรินิพพาน (สูตรการคำนวณ จำนวนปีการตรัสรู้ = ปี พ.ศ. + ๔๕) ดังนั้นในวันวิสาขบูชาปีพ.ศ.๒๕๕๕ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสรู้ครบ ๒,๖๐๐ ปีบริบูรณ์ ในประเทศต่าง ๆ ที่มีชาวพุทธเข้มแข็งได้ประกาศให้มีการเฉลิมฉลองในวาระนี้เป็นเวลา ๓  ปี (๒๕๕๓-๒๕๕๕) ดังเช่นในประเทศศรีลังกา พม่า อินเดียเป็นต้นได้มีการจัดงานเฉลิมฉลองอย่างตื่นตัวและยิ่งใหญ่ ที่สำนักงานใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติ สหรัฐอเมริกาก็มีการจัดงานฉลองใหญ่ในช่วงวันวิสาขบูชาที่ผ่านมา สำหรับประเทศไทย ได้มีการจัดงานในระดับภาคประชาชนกว่า ๒ ปีที่ผ่านมาในวงจำกัด ส่วนในระดับรัฐบาล สมควรที่รัฐบาลไทยจะประกาศให้มีการเฉลิมฉลองใหญ่ตลอดปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ นี้ อย่างเป็นทางการ

ที่มา/อ้างอิง  :
มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
          (Dramma Study and Support Foundation).  (๑๙  ธันวาคม  ๒๕๕๔).
          พุทธชยันตี.   เข้าถึงได้จาก  :  www.dhammahome.com/front/webboard/show.php

มาท่องโลกอาเซียนกันเถอะ

มาท่องโลกอาเซียนกันเถอะ

ที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=IbWLmDTLWSs